บทบัญญัติของสมุนไพร และธรรมคำสอนของพระภูมี ก่อให้เกิดสัญลักษณ์ที่ทุกคนไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบในแนวทางนี้ ต่างก็ต้องยอมรับ นั่นคือ พลังของชีวิตที่สมบูรณ์
หลวงพ่อนิพนธ์ได้อรรถาธิบายว่า พลังชีวิต นั้นคือ พลังของวิญญาณ อันหมายถึง ผลของการกระทำของเราท่านทุกอย่างที่ทำไป วิญญาณจะเป็นตัวรับผลทุกข์หรือสุขอันนั้น
เมื่อเราท่านทำผิด ผลผิดจึงเกิดโรค ที่เป็นตัวแทนแห่งกรรม จึงบังเกิดเพื่อเคี่ยวเข็ญดวงวิญญาณของเราตามผลผิดที่กระทำ
เมื่อเราทำถูก ผลถูกจึงเกิด โรคภัยที่เบียดเบียนมาให้ทุกข์จึงไม่มี
ในเมื่อทุกคนมีพรหมลิขิต ต้องอยู่จนครบอายุขัย หากไม่มีการกระทำให้เกิดอุบัติเหตุแห่งชีวิตเสียก่อน พระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกองค์ก็เช่นกัน
พระทุกองค์สำเร็จอรหันต์ ไปนิพพาน แสดงว่าสิ่งที่ทำนั้นถูก หากแต่พระต้องทำกิจของสงฆ์จนวันสุดท้ายของพรหมลิขิต ไม่มีขาดตกบกพร่อง
พระต้องบิณฑบาต เดินธุดงค์ โปรดโยม
สัญญลักษณ์ที่ปรากฎของการทำสิ่งถูกคือ แม้ว่าทุกองค์จะเข้าสู่วัยชรา ก็ยังทำกิจเหล่านั้นได้ นั่นคือ ไม่มีองค์ใดที่ตาฝ้าฟาง เดินไม่ไหว ช่วยตัวเองไม่ได้
เพราะนั่นคือการที่ต้องเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อมีหนี้ก็ย่อมไปนิพพานไม่ได้อย่างแน่นอน
พระของพระภูมี ทุกรูป ทุกนาม แม่ชีเมี้ยนได้กล่าวว่า ไม่มีองค์ใด ที่ต้องพึ่งผู้อื่นเลย ไม่ว่าอายุจะร้อยกว่า ก็ยังตาดี เดินหลังตรง ธุดงค์ได้ นั่นเพราะการทำถูก ทำให้พลังชีวิตยังเต็มเปี่ยมนั่นเอง
หลวงพ่อนิพนธ์จึงสรุปให้ฟังว่า พลังชีวิตหรือพลังของวิญญาณ จึงไม่ขึ้นกับวัย การทำผิดทำให้พลังของวิญญาณลดลง อันเป็นผลจากกรรมที่ทำมา การทำถูกทำให้พลังของวิญญาณเต็มเปี่ยม ไม่ว่าวัยจะน้อยมากสักฉันใด ก็ไม่เป็นอุปสรรค
คำท้าทายเล่นๆ จึงกล่าวว่า "ถ้าท่านใดยังอยู่อีก ๔๐ ปี ก็ให้มาดูตัวท่าน ว่าจะเดินหลังงอ ตาฝ้าฟาง เป็นโรคงอมหรือไม่ เพราะแม่ชีเมี้ยนตรัสว่า ตัวหลวงพ่อนิพนธ์มีอายุขัยประมาณ ๑๑๐ ปี นั่นเอง"
เพราะสิ่งนี้เองที่ประจักษ์แก่มนุษย์ในอดีต จึงต้องยอมรับในคำสอนและบุญญาธิการของพระพุทธเจ้า
จึงมีคำพูดที่ตกทอดมาว่า "ศาสนาของพระโคดมนี้ดี เรายอมรับ แต่ทำยาก" จึงมีสาวกเพียงแค่ไม่ถึงแสนนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้เอง แม่ชีเมี้ยนได้เคยตรัสว่า พระภูมีได้ทิ้ง "แว่นส่องจักรวาล" ไว้ให้มนุษญ์ไว้พิจารณา นั่นคือ
การกระทำใด ถูกหรือผิด ย่อมพิจารณาจากผลที่มีต่อ พลังชีวิตของเรานั่นเอง หาใช่จากความน่าเชื่อถือ หรือฟังจากปากใคร หรือมีกล่าวอ้างในคัมภร์ใดๆไม่ อันเป็นที่มาของ กาลามสูตรนั่นเอง