หลวงพ่อนิพนธ์ได้ยกเรื่องครั้งพุทธกาล ที่แม่ชีเมี้ยนทรงสอนมาให้ฟังว่า
ครั้งหนึ่งพระภูมีทรงคิดโปรดโยมท่านหนึ่ง จึงเดินไปบิณฑบาตยังบ้านของโยมผู้นั้น
โยมผู้นั้นเห็นพระภูมี จึงได้นำอาหารมาใส่บาตร
ครั้นใส่บาตรเสร็จ พระภูมีก็ยังไม่ทรงปิดฝาบาตร หากแต่ทรงตรัสแก่โยมผู้นั้นว่า ให้ใส่สิ่งที่มีค่าที่สุดของโยมลงในบาตรด้วย
โยมผู้นั้น ก็งงงวยด้วยไม่รู้ความนัยที่พระถูมีทรงตรัส
พระภูมีจึงทรงตรัสสอนว่า ก็โยมปรารถนาความสุข ก็ควรนำนิสัยที่สร้างทุกข์ใส่ในบาตร ยิ่งมากก็ยิ่งดี
แล้วจึงตรัสว่า อาหารเป็นเครื่องประทังสังขาร ทานแล้วถึงเวลาก็หิวอีก จัดว่าเป็นวัตถุทาน
นิสัยที่สร้างทุกข์ อันทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ เมื่อลดละเลิกได้ ไม่ทำต่อ ก็จะเป็นบุญ สร้างสุขให้แก่ตน
โลกสมัยนี้ กลับตาลปัตร มุ่งเน้นสอนให้ทำวัตถุ แล้วกล่าวว่าเป็นบุญ ทั้งที่สมัยพุทธกาลนั้น ทรงบัญญัติว่า การลดนิสัยกรรม แล้วทำนิสัยธรรม ได้ นั่นแหละบุญ
เพราะนิสัยของเรา สามารถให้ทุกข์แก่คนได้อย่างมากมาย ไม่ว่าเจตนาหรือไม่ อาทิ แค่ความโกรธ ความไม่ชอบ ก็สั่งฆ่าล้างเผ่าพันธ์ได้ อารมณ์โกรธชั่ววูบ ก็ทำร้ายคนได้
พระภูมีทรงตรัสว่า บุญบาป อยู่ที่มนุษย์และสัตว์ ให้ทุกข์ก็เป็นบาป ให้สุขก็เป็นบุญ
และการทำ ควรจะทำ "บุญและทาน" พร้อมกันไป นั่นคือ เมื่อถวายอาหาร ก็ควรถวายนิสัย ลงในบาตรด้วย
ฟังไปพิจารณา .... ซึ่งเหตุและผล
บาตรจึงเป็นสัญญลักษณ์ของพุทธศาสนา ที่ไม่มีในศาสนาอื่นใด เพราะหมายถึง "ศาสนาทำ" อยากได้มาเรียนรู้แล้วทำ