วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

เมื่อกรรมเขาเป็นพี่

ไม่น่าแปลกใจ ที่โลกตะวันตก ถึงไม่ชอบ แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลักของพระภูมี โต้แย้งไม่ได้ ก็เพราะเป็นหลักของเหตุและผลนั่นเอง

แลเหตุและผล ที่พระภูมีตรัสให้เป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาของชีวิต มีบทสรุปสั้นๆ คือ "ทุกข์วันนี้ สุขวันหน้า"

เหตุผลนี้ หากมีน้ำหนักแก่ผู้ใด ย่อมทำให้เกิด ขันติ มานะ อดทน แล้วทำตาม

หากแต่กรรมเขาเป็นพี่ เขามาก่อน และเป็นตัวเป็นตนแล้ว ผลของเขาจึงปรากฎ ให้ผล ณ วันนี้แล้ว

เมื่อมาเจอธรรมคำสอน เหมือนเด็กเริ่มหัดเดิน หัดวิ่ง ต้องใช้เวลา

หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเหตุให้ คนทั่วไปเกิดความท้อ เพราะสิ่งที่ตำตา ตำใจ คือ ขณะที่ก้มหน้า ก้มตา ประพฤติธรรม ตนเองก็ทุกข์แสนสาหัส

ความรู้สึกนี้ ค่อยๆ กัดกร่อน ทำให้ในที่สุด กรรมก็สามารถเบียดบัง เหตุและผลของพระภูมีไป จนกลายเป็นคำประชด ว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป"

เหตุและผล ที่พระภูมีทรงชี้ให้เห็น ก็ได้แต่เป็นแค่คำพูด "กงกรรม กงเกวียน" อันหมายถึง ผลของการทำในอดีต ย่อมปรากฏเป็นผลในชาตินี้ แลผลการทำในชาตินี้ ย่อมหมายถึง สิ่งที่จะเกิดในอนาคต

ขณะที่วันนี้เราทำดี จะทำสักฉันใด ก็ยังลำบากแสนเข็ญ ก็ด้วยเหตุแห่งชาติที่แล้ว ยังไม่หมด จะปฏิเสธสักฉันใด ก็คงไม่ได้ แล้วนำสิ่งนี้มาเป็นเหตุ ให้เลิกทำความดีตามพระภูมี จะควรหรือ

เพราะกรรมเขาเป็นพี่ ย่อมส่งเสริมนิสัย รับแต่สุข ปฏิเสธทุกข์

จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ทำไมคนอินเดียเป็นร้อยล้านคน ในสมัยพระโคดม จึงมาทำตามพระพุทธเจ้าแค่ไม่ถึงแสน และเป็นพุทธศาสนิกชน แค่ไม่กี่แสน เท่านั้นเอง

ก็ด้วยหวังแต่สุข ในวันนี้ วันหน้าจะเป็นอย่างไรไม่สน ไม่รับรู้ ไม่รับผิดชอบ

หากแต่เมื่อผลเกิด ก็ต้องถามว่า มีใครแกล้งให้เป็นหรือ ก็เปล่า ล้วนแล้วแต่ตัวทำทั้งสิ้น

เมื่อถึงเวลา ไม่ว่าจะยากดีมีจน มันก็มา จะใช้อะไรป้องกันหาได้ไม่ ถึงเวลา มันก็เจ็บ จะปฏิเสธสักฉันใด ไม่ได้เลย

หลวงพ่อนิพนธ์ จึงกล่าวว่า ก็ในเมื่อปฏิเสธทุกข์ไม่ได้ พระภูมีจึงบัญญัติ วินัยของท่านไว้ว่า แทนที่จะทุกข์กับกรรม ก็มาทุกข์กับวินัยแทน แลเมื่อยอมรับ ยอมใช้ ย่อมต้องมีวันหมด

หลักของพระภูมี จึงมิใช่หลักหนีกรรม ปฏิเสธกรรม หากแต่เป็นหลักใช้กรรม

เมื่อไม่มีกรรม อันเป็นนายของโรค ไม่มีทุกข์ที่จะต้องใช้อีก นั่นก็หมายความว่า โรคมันหมดพลัง แล้วมันจะอยู่สร้างทุกข์ได้อีกหรือ

เส้นทางนี้ เมื่อพิจารณาแล้ว จึงเห็นว่าเป็นไปได้ ทำได้

พิจารณาก็เห็นว่า เหตุแห่งโรคที่แท้จริง ไม่ใช่เชื้อโรค แต่มันคือกรรมที่เราทำมานั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีมนุษย์คนใด สามารถหาทาง หายา หรือกรรมวิธีใดๆ เพื่อทำให้หายโรคได้ เพราะวิชาของเขาเหล่านั้น ไม่ใช่วิชาแก้กรรมนั่นเอง

อย่างดีที่ทำได้ ก็คือ วิชาปฏิเสธกรรม คือ ระงับ ชั่วคราว หากแต่เมื่อถึงที่สุด ผลแห่งกรรมก็ไม่มีอะไรหยุดยั้งได้

เมื่อกรรมเขาเป็นพี่ บันดาลโรคมาให้ สิ่งที่จะทำให้กรรมดำรงต่อไปในภายภาคหน้าได้ นั่นก็คือ การทำให้เราท่านมีนิสัยกรรม นั่นเอง

นิสัยนี้ สร้างทุกข์ในวันนี้ ยังไม่พอ หากแต่ยังสร้างทุกข์ในวันข้างหน้าอีก ไม่รู้จบ

แม่ชีเมี้ยนจึงตรัสว่า เมื่อไม่มีศาสนา ก็เหมือนเดินทางในความมืด ศาสนา จึงอุปมาเหมือนไฟ ที่ช่วยส่องนำทาง ให้พ้นทุกข์

บทบัญญัติของพระภูมี ในการรักษาตน จึงหนีไม่พ้น ให้ต้องเปลี่ยนนิสัยกรรม เป็นนิสัยธรรม

แลหากขาดซึ่งเหตุผล เพื่อก่อให้เกิดขันติ และอดทน ท้ายที่สุดก็คงพ่ายแพ้ แก่กรรม ผู้ซึ่งเป็นพี่ ที่เชี่ยวชาญ ช่ำชอง ในการหลอกล่อ ให้ตกอยู่ในบ่วงกรรมอันนี้ไม่มีสิ้นสุด

คำที่หลวงพ่อนิพนธ์ มักกล่าวเตือนสติอยู่เสมอ คือ "ถ้ากรรมเขาไม่แน่จริง ก็คงทำให้เราหลงเวียนว่ายตายเกิดมาจนทุกวันนี้ไม่ได้หรอก หากนับกองกระดูกของตนเอง อาจจะใหญ่กว่าภูเขาที่ว่าใหญ่เสียอีก"

ดังนั้น หากขาด สติ ศรัทธา ความเชื่อ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับกรรม รวมกับ การเอาเหตุและผลแล้ว ผลการรบก็ชี้ได้เลยว่า "ศึกนี้แพ้แน่" อย่ามาเสียเวลาเลย

หากเรียนรู้ แล้วทำตาม ก็มั่นใจได้ว่า "ธรรมย่อมชนะอธรรม" อย่างแน่นอน

พิจารณาจึงเข้าใจว่า หลวงพ่อนิพนธ์ทำไมจึงชอบกล่าวว่า "เราไม่กลัวโรคของท่านหรอก ไม่ว่าโรคใดๆ แต่เรากลัวนิสัยของท่าน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44