หลวงพ่อนิพนธ์ มักกล่าวเสมอว่าสถานะของท่านไม่ใช่พระ ดังนั้นจึงมักหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนา มาโดยตลอด
หากแต่มาวันนี้ แม่ชีเมี้ยนทรงเตือนว่า ทำเช่นนั้นไม่ได้ ประการหนึ่ง ก็ทำให้การช่วยตนล่าช้า และประการที่สำคัญ นั่นคือ การอุบัติของพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ที่ใกล้เข้ามา เมื่อถึงวันนั้น ก็จักทำให้สามารถเดินไปในแนวทางเดียวกันได้ง่าย
การปัดฝุ่นและย้อนสมัยถ้ำกระบอก ถึงความสำคัญของการเข้าพรรษา นั่นคือการที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าพระหรือฆราวาส จักต้องกำหนดวินัยของตัวเองขึ้น เพื่อบังคับตนให้ลดกิเลสที่พึงมี
การทั้งนี้ ก็เพื่อเปลี่ยนตนเป็นคนใหม่ เมื่อออกพรรษา นั่นคือ ชีวิตที่ดีกว่า เริ่มจากโรคที่หายไป และสุขกับนิสัยใหม่ที่ไม่สร้างกรรม เมื่อต้องไปเผชิญกับโลกอีกครั้งยามออกพรรษา
เมื่อหลักใหญ่ที่พระภูมีทรงตรัส ว่ามีมุลเหตุแห่งกรรม และมีผลจากกิเลสนิสัย ของเราท่าน จึงบัญญัติทางสายกลางที่ทุกคนทำได้ และเป็นบุญ นั่นคือ การลดละนิสัยกรรม มาปฏิบัตินิสัยธรรม เริ่มจากทีละน้อย
แม่ชีเมี้ยนทรงตรัสว่า พระพุทธเจ้าไม่ถือศีล ด้วยเหตุเป็นของหนัก ยากจะปฏิบัติได้ จึงอาศัยการวางสัจจะปฏิบัติเริ่มจากน้อยไปหามาก
และทรงเห็นว่า โรคเป็นเหตุแห่งเฉพาะตน หากแต่นิสัย โดยเฉพาะความโกรธ เป็นเหตุแห่งตนเองและผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้ การวางสัจจะขข้อแรกของพุทธบริษัท หรือผุ้ปฏิบัติ จึงมักเริ่มจากการควบคุมตน โดยอาศัยหลักพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เข้าควบคุมนิสัยโกรธ เป็นเบื้องต้น โดยเริ่มจากวันละหนึ่งชั่วโมง
หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ธรรมของพระภูมี มีไว้เพื่อสร้างผู้ปฏิบัติ อันเป็นปูชนียบุคคล หาใช่เพื่อการสร้างปูชนียสถานไม่
ดังนั้นบุญของพระภูมี จึงทำได้ทุกคน อันเป็นทางสายกลาง ด้วยเหตุที่ทุกคนล้วนมีนิสัย และกิเลส หากใครลดนิสัย และกิเลสลงได้ นั่นแลคือบุญ
จึงเป็นที่มาของบาตร ในบวรพุทธศาสนา ที่หาใช่เพียงมีไว้เพื่อขออาหาร หากแต่การบิณฑบาตร จุดใหญ่ใจความ ก็คือ ขอนิสัยที่ไม่ดีเป็นสำคัญ
พระถ้ำกระบอกจึงถุกสอนว่า ให้กล่าวกับญาติโยมว่า อาตมาไม่มี ตระกรุด น้ำมนต์ ผ้ายันต์ เครื่องลางใดๆ และไม่มีพรอะไรให้ จะมีก็แต่ธรรมของพระภูมี ที่ผู้ใดรับไปทำแล้ว ก็จักสัมฤทธิ์ผลตามความปรารถนา
เข้าพรรษานี้ หลวงพ่อนิพนธ์ จึงชวนชักให้เดินตามรอยอดีต ไม่ได้กะเกณฑ์ให้ทุกคนต้องทำตาม หากแต่บอกเป็นทางสายกลาง ใครที่ฟังเหตุและผล อยากลองเดินตามรอยพุทธกาล ก็ลองทำดู ประกอบกับการทานสมุนไพร
ผลที่จักบังเกิด อันเป็นไปตามพุทธดำรัส คือ "สมุนไพรล้างโรค ธรรมล้างกรรม" อันจักทำให้การเข้าพรรษา ก็เพื่อแสวงหาชีวิตใหม่ ที่ไม่มีโรค กลายเป็นคนใหม่ ที่มีกิเลสน้อยลง รู้หนทางบุญไว้รักษาตน
จึงเชิญชวน ผู้ที่อยากสัมผัสว่า ปาฏิหารย์ของพระภูมี นั่นคือ บุญ ลองปฏิบัติตัว ด้วยการจุดธูปประกาศต่อแม่ชีเมี้ยน ต่อพระพุทธว่า ข้าพเจ้าจักไม่โกรธ วันละหนึ่งชั่วโมง ในเวลาที่ตนเองพร้อม และในช่วงเวลานั้น ก็เจริญพรหมวิหาร เมื่อพบเหตุ และท่องคาถา "เขตะมารัจจะ" ระวังตน ประคอง กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรรมฐาน ไม่โกรธ ให้ครบราว
เมื่อครบชั่วโมง ก็ลาสัจจะ แบบหลังสวดมนต์ อุทิศผลบุญให้เจ้ากรรมนายเวร แล้วทานสมุนไพร โดยลองทำระยะสั้นๆ เช่น ๗ วัน
หลายคนอาจมองการบิณฑบาตร เป็นการขอ แต่ความจริงแล้ว เป็นการให้ต่างหาก ทำให้สรรพสัตว์ได้มีโอกาสสร้างบุญ ด้วยการลดนิสัยกรรม อันเป็นสติเมื่อเห็นพระ
สิ่งที่กล่าวไม่ได้มีกับทุกคน เพราะเป็นไปไม่ได้ และไม่ได้ให้ทุกคนต้องเห็นด้วย ทำตาม หากแต่หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า เมื่อเสนอตนมาเป็นทางเลือกแล้ว ทางเลือกอื่นก็ทำมาเยอะแล้ว ผลก็ปรากฎ จึงเสนอทางเลือกนี้ให้เดิน สำหรับผู้ที่อยากได้ ไม่ใช่มาแข่ง หรือมาอวดตน กับใคร บังคับใคร เอาเป็นว่า เฉพาะคนที่อยากใช้ทางเลือกนี้ เฉพาะกลุ่ม ที่เชื่อ และศรัทธาในแนวทางของพระภุมี แบบแม่ชีเมี้ยน เท่านั้นเอง ส่วนคนอื่นๆ จักทำอย่างไรก็สุดแล้วแต่ ไม่ก้าวล่วง
หากแต่สัจจะธรรมความจริง ย่อมปรากฎ "ทำผิด ผลผิด สนอง ทำถูก ผลถูก สนอง" ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ชัดอยู่แล้ว
เข้าพรรษา สไตล์แม่ชีเมี้ยน จึงเน้นวิรัติตน ให้เมื่อยามออกพรรษา จักกลายเป็นคนใหม่ เบาทั้งโลก เบาทั้งนิสัยกรรม ผลของเข้าพรรษา จึงอุปมาการชุบชีวิตใหม่นั่นเอง
ผลของการเข้าพรรษา ที่ควรจักพึงได้ คือ การเป็นปูชนียบุคคล ที่มีนิสัยกรรมน้อยลง คือมีกิเลสน้อยลง นั่นเอง และผลจากการทำตนนี้ จึงได้ลาภอันประเสริฐ คือ ความไม่มีโรค เป็นของขวัญจากพระภูมีกลับมานั่นเอง ดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่หลวงพ่อนิพนธ์มักกล่าวว่า "หากทำได้ โรคอะไรก็ไม่น่ากลัว"