อันหมายความว่า เรื่องของชีวิต เป็นเรื่องเฉพาะตน จะมาเหมารวม เห็นคนนั้นทำอย่างนั้นได้ อย่างนี้ได้ ก็จะเอาแบบเขาบ้าง
แล้วก็เหมารวมถึงผลได้ตามใจตน เอาเองว่า คนอื่นเขาทำแบบนั้น เราก็ทำเหมือนกันกับเขา ในเมื่อเขาประสพผลได้ เราก็ต้องได้ผลอย่างเขาเช่นเดียวกัน
หลวงพ่อนิพนธ์ได้ยกตัวอย่าง ลูกศิษย์รุ่นเก่าที่ตามมาแต่ครั้งถ้ำกระบอก ที่ยึดติดพฤติกรรมเดิมๆ การกระทำเดิมๆ และที่สำคัญ เอาแต่สิ่งที่ตนพอใจเป็นที่ตั้ง
ลูกศิษย์ท่านนี้ ตามท่านมาตลอด แต่ก็ไม่ได้ร่วมกิจกรรมมากมายนัก แต่สิ่งที่ปฏิบัติเป็นประจำ ก็คือ วันสำคัญจะไปมาหาสู่ไม่ได้ขาด จนในระยะหลังก็ขาดหายไป เนื่องจากภาระครอบครัว
กลับมาหาหลวงพ่อนิพนธ์อีกครั้ง ก็อยู่ในสภาพเป็นอัมพฤกต์ เดินไม่ได้ ช่วยตัวเองได้บ้าง ด้วยความเชื่อที่มีอยู่เดิม และพฤติกรรมที่ทำตามคำสั่งเสมอ หลวงพ่อนิพนธ์ก็ช่วยจนสามารถกลับมาขับรถได้ ทำงานเป็นปกติได้
หากแต่ครอบครัวนี้ มีแต่เพียงหัวหน้าครอบครัวที่เชื่อและทำตามหลวงพ่อนิพนธ์ นอกนั้นคนในครอบครัว ไม่เห็นด้วย และไม่เคยมาใส่ใจแต่อย่างไรเลย
หลังจากที่ตัวของเขาเองหายเป็นปกติ และทราบว่าลูกสาวของตน เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย จึงร้องขอให้หลวงพ่อนิพนธ์ช่วยลูกสาวของตน
หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า ตัวเขากับลูกสาว มันคนละคนกัน ความเชื่อคนละแบบ พฤติกรรมต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญ ไม่เคยศรัทธาเส้นทางนี้เลย ดังนั้น ควรจะทำใจเผื่อไว้บ้าง หากผลออกมาไม่รอด ก็ต้องทำใจ
หากแต่เขาคิดว่า ลูกสาวทำแบบเขาได้ แล้วจะรอดเหมือนเขาที่หาย แต่ผลที่สุด ลูกสาวของเขาก็ไม่รอด
เมื่อเสียลูกสาวไป ก็พาล กลายเป็นความผิดของหลวงพ่อนิพนธ์ที่ไม่ยอมช่วยลูกสาวเขา แล้วตัวเขาก็เลิกราไปจากหลวงพ่อนิพนธ์
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงชี้ให้เห็นบทสรุปว่า คนหลายคนมา ณ ที่นี้ ตั้งความหวัง โดยไม่ดูเนื้อผ้า ว่าความเป็นไปได้ของสภาพนั้น มีหรือไม่ คิดเอาแต่ใจตนว่า มาแล้วต้องหายเพียงอย่างเดียว
เมื่อความหวังนั้นไม่บรรลุผล ก็ละทิ้งสิ่งดีงาม โดยไม่เอาเหตุเอาผล
และยิ่งเป็นการยาก หากผู้นั้น ชอบที่จะกระทำดั่ง "เห็นช้างขึ้ ขี้ตามช้าง" ปฏิเสธความจริง เห็นเขาทำอย่างนั้นได้ ก็จะทำมั่ง ในเมื่อคนอื่นทำแล้วยังรอด ก็สรุปว่าตนทำ ก็ต้องรอดเช่นกัน
และที่สำคัญ เอาตัวของตน ไปยึดโยงกับคนที่ตนรัก ตนผูกพัน ว่าต้องรอด ทั้งที่คนคนนั้น มีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับแนวทางศาสนาเลย
เรื่องของศาสนา จึงเน้นว่า "เป็นเรื่องเฉพาะตน ใครทำ ใครได้"