พี่น้องเรียกเธอ อาเหมย แต่คนของชมรมเรียกเธอ แอน
เหมยเป็นคนจีน อยู่คุนหมิง อายุเพิ่งจะยี่สิบต้นๆ แต่อาการป่วยของเธอไม่ต้นๆ เลย เพราะหมอให้คำอมตะแก่เธอแล้ว
พี่น้องของเธอไปมาเมืองไทย ได้ข่าวของชมรม จึงขอหลวงพ่อนิพนธ์และส่งเธอมาพำนักพักอยู่ที่ชมรม
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เหมยมาอยู่ที่นี่ได้ครบปี พร้อมกับร่างกายที่กลับฟื้นคืนสภาพมาสมบูรณ์ดังเดิมอีกครั้ง
และนอกจากร่างกายที่กลับมาสมบูรณ์ เธอยังได้ของแถมจากที่นี่ นั่นคือ เธอพูดไทยได้พอรู้เรื่อง
ผลของการลงทุนของเธอ ที่ทิ้งทุกอย่าง ใช้เวลาทุกเสี้ยวนาทีของปี เพื่อกอบกู้ชีวิต แล้วเธอก็ประสพผลดั่งใจหวัง
หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า เพราะเห็นชีวิตมีความสำคัญ จึงทุ่มเท และผลที่ได้ก็ไม่ผิดหวัง ในขณะที่หลายคน หวังผล แต่การมาในแต่ละสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรูสึก อยากมาก็มา ว่างก็มา ไม่ว่าง ไม่มีอารมณ์ก็ไม่มา มีสิ่งที่สำคัญกว่าชีวิต ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะกอบกู้ชีวิต เรียกพฤติกรรมเช่นนี้ว่า "กินเพื่อประทัง ไม่ใช่กินเพื่อหาย"
คนไกล พูดไทยไม่ได้ ฟังหลวงพ่อนิพนธ์ ยังเข้าใจ ... นั่นเพราะชีวิตของเขามีความหมาย และที่สำคัญเขาให้ค่าของชีวิตไว้สูง จึงทุ่มเท นี่แหละเรียกคนรักตัว
หลายคน มักให้ความสำคัญสิ่งอื่น ละเลยชีวิตตน ภาษิตโบราณกล่าวว่า "แม้แต่ตัวเองยังไม่รัก คนคนนั้นจะรักใครได้" ให้พึงระวัง
ปฏิเสธอย่างไรก็ฟังไม่ขึ้น เพราะพฤติกรรมมันฟ้อง ผลตอบแทนที่ได้จึงไม่มีทางได้ดังหวัง การมาก็เสียเวลาเปล่า สู้เอาเวลาไปทำสิ่งที่ชอบดีกว่า เพราะท้ายที่สุด ก็จะมาลงที่ "ไหนว่าสมุนไพรดี ไหนว่าที่นี่กินแล้วหาย"...
เงินทองกว่าจะได้ก็ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ แรงสมอง แต่นี่ชีวิต ... จะได้คืนกลับมา ยากยิ่งกว่า ... ผลตอบแทนจึงมีเฉพาะผู้ที่ทุ่มเท และจริงจัง เห็นค่าของชีวิต เท่านั้นแล เพราะพระภูมีตรัสแล้วว่า "ใครทำอย่างไร ได้อย่างนั้น"
ยินดีด้วย "อาเหมย" ...