หากแต่เมื่อได้ฟังหลวงพ่อนิพนธ์พูด ก็คิดว่า พูดอะไรว่ะ ไม่เห็นเกี่ยวกับสมุนไพรเลย แล้วก็พาลเบื่อ
ด้วยความไม่เข้าใจว่า แนวทางของแม่ชีเมี้ยน ที่หลวงพ่อนิพนธ์นำมานั้น มีองค์ประกอบสองส่วน นั่นคือ สมุนไพร และ พฤติกรรม
สมุนไพร มิใช่ปัญหาหนัก ที่จะทำความเข้าใจ แต่สิ่งที่ยากกว่า คือ พฤติกรรม เพราะทำอย่างไรให้เขามาเดินรอยตามต้นตำรับ เจ้าของตำรา นั่นคือ เดินตามรอยพระพุทธเจ้า
การพูดส่วนใหญ่ จึงเน้นเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ที่เดิมไม่เคยมีอยู่เลย และถอนความคิดเดิมออก มาเป็นความเชื่อที่เหลือหนึ่งเดียว เพื่อใช้ในการช่วยตนเอง
ความคิดใหม่ นั่นคือ เชื่อในรอยที่พระพุทธเจ้าทิ้งไว้ให้ แล้วทำตาม
ในขณะที่ผู้อื่น ประกาศตนว่า มียาทำให้หายโรค ที่นี่ประกาศ "อยากหาย ต้องรักษาตนเอง" ในขณะที่ผู้อื่น ประกาศตนว่า มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ที่นี่ประกาศ "ภูมิปัญญาพระภูมี ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย" ในขณะที่ผู้อื่น โฆษณาชวนเชื่อ ใช้การตลาดนำหน้า โดยหาผลงานเป็นชิ้นเป็นอันให้โลกยอมรับไม่ได้เลย แต่ที่นี่ "แม้แต่อเมริกยังต้องยอมรับ และให้ทุนมาแล้ว"
ดังนั้น การพูดโดยส่วนใหญ่ จึงเน้นไปเพื่อสร้างความมั่นใจ และก่อให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้อง ตามเจ้าของตำรา นั่นคือ "คนดี" ซึ่งเป็นเครื่องตัดสินว่า..... หายหรือไม่
สถานที่นี้ หลวงพ่อนิพนธ์ จึงปะรกาศเสมอว่า "โรคอะไร ก็ไม่น่ากลัว กลัวแต่นิสัยของคนป่วย ที่ไม่ยอมเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับคำสอนของพระภูมีนั่นเอง"
คนพูดก็พูดไป คนฟังก็ทำเฉย จะเอาแต่หายลูกเดียว ... นี่แหละฝันที่ไม่เคยเป็นจริง และเป็นคำตอบว่า ทำไมแม้สมุนไพรดี คำสอนดี แต่คนหายมันน้อย ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น