วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมูไปไก่มา

วิธีการที่พระภูมีใช้ในการดำเนินกิจกรรมของศาสนา ทรงบัญญัติหลัก "หมูไปไก่มา"

หลวงพ่อนิพนธ์ ได้ขยายภาพพฤติกรรมเหล่านี้ให้เห็น

อาทิเช่น พระภูมีทรงกำหนดวินัย ให้รับบาตร นั่นหมายถึง การรับหมูมา แล้วฉันข้าวในบาตรนั้น จนมีพลังไปปฏิบัติวินัย เป็นบุญ คือไก่ส่งคืนเจ้าของข้าว

แม้นกระทั่ง ยามที่ทรงธุดงค์ไปในสถานที่ใด ในย่ามจะมีเสียมเล็กๆ เมื่อทรงจะประทับที่ใด ก็จะมีวินัยกำหนด พื้นที่หนึ่งวา สองวา หรือสามวา ในการทำให้พื้นที่ที่ทรงประทับนั้นโล่งเตียน น่านั่ง

เมื่อเสด็จไปแล้ว เจ้าของที่เห็นสถานที่โล่งเตียน มานั่งพักผ่อน จึงเป็นการให้ซึ่งกันและกัน

การไปหาสถานที่นั่ง จึงไม่ใช่ไปเพื่อนั่งวิปัสสนา สมาธิ อย่างที่พระไตรปิฎก หรือ เกจิต่างๆ สอนกัน

ด้วยเหตุนี้เอง พระของพระภูมี หรือ พระแม่ชีเมี้ยน จึงมีคำเรียกอีกอย่างว่า "พระกรรมกร" เพราะเมื่อทานหรือรับของผู้อื่นมาแล้ว จึงต้องนำมาก่อให้เกิดประโยชน์คืนกลับเจ้าของไปนั่นเอง จะมามัวนั่งวิปัสสนาเฉยๆ ไม่เกิดผลใดคืนแก่เจ้าของ ไม่ได้เลย

และด้วยเหตุผลนี้เอง ที่หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า การเปิดรับบริจาคของสมาชิกชมรม ต่อมูลนิธิไทยกรุณา จึงต้องกำหนดเป็นครั้งคราว เมื่อได้มาแล้ว ต้องรีบหาทางนำไปทำประโยชน์ให้เร็วที่สุด เพื่อคืนกลับเจ้าของไป

หากสะสมไว้ สิ่งเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาทับตนของเราให้เกิดนิวรณ์ขึ้น

ที่นี่จึงทำแบบมูลนิธิอื่นไม่ได้ มิฉะนั้นแล้ว หากรับมาแล้วทำให้เขาไม่ได้ ผลท้ายที่สุด ก็เป็นดั่งคำสอนของแม่ชีเมี้ยน คือ "ช่วยเขา แล้วเราตาย" อย่างแน่นอน

มันจึงเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อได้กำไรจากข้าวแกง แล้วคนมีปัญญา จะนำเงินนั้นเก็บเข้ายุ้ง เข้าพก เข้าห่อของตนเอง มีแต่จะต้องรีบนำไปก่อประโยชน์ให้แก่เจ้าของเงินให้เร็วที่สุด และสูงสุด ตามปัญญาที่มี ....

เพราะเงินเหล่านี้ ล้วนแต่แฝงด้วยแรงอธิษฐานอันมหาศาล นั่นเอง มันจึงเป็นของร้อน หากนำเป็นของตน โบราณจึงสอนว่า "ห้ามนำของวัดกลับบ้าน" ฉันใดก็ฉันนั้น

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44