ศาลารักษาโรค แนวทางการรักษาด้วยสมุนไพรควบคู่ไปกับธรรมะ เผยแพร่กิจกรรมของมูลนิธิไทยกรุณา และให้ความรู้ด้านสมุนไพรรักษาโรค
วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ความต่างของคำสอน
การสวดมนต์มีความสำคัญ และการฟังคำสอนก็ยิ่งมีความสำคัญ
มนุษย์ชอบความสบาย ชอบทำตามนิสัย จึงไม่แปลกที่หลายคน พยายามหลบ พยายามเลี่ยง ไม่สวดมนต์บ้างหล่ะ ไม่ฟังบ้างหล่ะ หรือ แม้นกระทั่ง อยากนั่งในที่สบายๆ
การแบ่งแยกกลุ่มคนไข้ออก ย่อมมีความหมาย หากใครพิจารณาคำสอน ก็จะพบว่า การสอนคนไข้เก่าที่อาคารแม่ชีเมี้ยน มีความแตกต่างจาก คำสอนที่สอนให้แก่คนไข้มะเร็ง อัมพฤกต์ และคนไข้ใหม่่ ที่ศาลามะเร็ง
หากดูรายละเอียด ก็จะพบว่า คนไข้เก่า คือกลุ่มคนไข้ที่มีวันเวลา มีความเชื่อมั่นในสมุนไพร ทำให้สามารถยืนระยะในการทานสมุนไพร หลายคนก็เป็นปี หลายคนก็มาหลายปีแล้ว
ในขณะที่คนไข้มะเร็ง คนไข้อัมพฤกต์ และคนไข้ใหม่ กลุ่มคนเหล่านี้ เรียกได้ว่า โรคที่เป็นยังไม่ร้ายเท่าไหร พอสู้ไหว แต่จิตใจของคนกลุ่มนี้ เปราะบางเหลือเกิน พร้อมล้มทุกเมื่อ ขาดจิต ขาดวิญญาณ ในการต่อสู้
นี่เองจึงเป็นสาเหตุหนึ่งในการแยกกลุ่ม แล้วแยกคำสอน
กลุ่มอาคารแม่ชีเมี้ยน เน้นไปที่ความถูกต้อง ในพฤติกรรม การกระทำ เรียกว่า ชี้ให้เห็นช่องทาง ให้พิจารณาแล้วเดิน ว่าจะเดินอย่างไร เรียกว่าคัดหางเสือให้ถูกทิศ
ในขณะที่อาคารมะเร็ง ชี้ให้เห็นแสงที่หลายอุโมงค์ และหนทางที่ไปว่ามีคนทำได้ เพื่อให้เกิดกำลังใจ ความฮักเหิม ในการที่จะช่วยตน เป็นสำคัญ
ใครที่ไหนว่าแน่ เรียนรู้ได้โดยไม่มีครู ไม่มีหรอก ... ยิ่งเรื่องของศาสน์ด้วยแล้ว หากแม่ชีเมี้ยนไม่นำมา ศาสน์อันนี้ก็ถูกกลบฝัง ยิ่งไปควานหากับพระ กับหนังสือตำรา ยิ่งห่างไกล ข้อพิสูจน์ย่อมเห็นชัดว่า ความรู้อื่นใดในโลก ที่ร่ำเรียนกัน หากเป็นเรื่องของชีวิต ช่วยไม่ได้เลย ทำสักฉันใด ก็ไร้ผล ยิ่งไปกว่านั้น หมองูตายเพราะงู คนสอนเองยังไม่รอดเลย ก็มีให้เห็นกันดาษดื่น หมอเป็นหมอก็ตาย
เราจึงอยากเตือนว่า มาตรการที่หลวงพ่อนิพนธ์ออกมาอย่างแรก คือ การไม่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมของชีวิต นั่นคือ อยากมาก็มา อยากหยุดก็หยุด นั่นคือ กรรไกรตัดความสัมพันธ์เล่มแรก หากแม้นมาแล้ว ไม่อยากสวดมนต์ ไม่อยากฟัง เราก็คืดว่า สิ่งนี้คือกรรไกรเล่มที่สอง เป็นมาตรการต่อไปในการตัดสัมพันธ์ ระหว่างที่นี่กับคนป่วย .... ที่น่าจะนำมาใช้เป็นอันดับต่อไป
บทสรุปที่หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวเสมอ ในการฟื้นฟูตน นั่นคือ แพ้ชนะวัดกันที่ใจ และพฤติกรรมการกระทำ ย่อมเป็นตัวแทนของใจ ดั่งคำกล่าว "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" เมื่อพฤติกรรมกายปรากฎ ย่อมสะท้อนว่าพฤติกรรมของใจเป็นเช่นไร เมื่อไม่พร้อม ยังไม่ต้องมา เพราะนั่นหมายถึง โอกาสวันนี้จะหมดไป และปิดโอกาสของวันหน้า ไม่เพียงแต่ตน แม้นญาติมิตร ประตูนี้ก็ยากจะเปิดรับ ... นั่นแลที่มาของ ยักษ์หน้าโบสถ์ในตำนาน ต่อให้ร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า ... หลวงพ่อนิพนธ์ก็คงไม่ชายตามอง เพราะถึงบทถึงตอน ธรรมหมวดอุเบกขาแล้วนั่นเอง จึงไม่มาเสียเวลากับคนที่ไม่มีคุณสมบัติ แล้วทุ่มไปที่คนที่อยากได้ ให้รอด นั่นเอง
เส้นทางนี้ หลวงพ่อนิพนธ์ย้ำเสมอ ถูกต้อง รวดเร็วที่สุดในการฟื้นฟูตน แต่ทำไมเราท่านมาใช้ มันจึงล่าช้า ... ก็เพราะขาดองค์ความรู้ เพื่อไปปฏิบัตินั่นเอง ... ถ้าคิดว่าตนรู้แล้ว ทำถูกแล้ว ไม่อยากฟัง ... นี่แหละคืออุปสรรคใหญ๋ ขนาดพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ยังกลัว คนแบบนี้เลย