หลวงพ่อนิพนธ์ อรรถาธิบายให้เห็นว่า นั่นแปลว่า สิ่งที่ร่างกายจะใช้ในการดำรงชีวิต ย่อมต้องเป็นสิ่งที่มีชีวิต ไม่เน่าเสีย อันเกิดตามธรรมชาติเท่านั้น
เราท่าน จึงไม่สามารถทานแกลบ หิน ดิน ทราย ได้ แลแม้กระทั่ง ของที่เน่าเสีย ร่างกายก็จะปฏิเสธ ก่อให้เกิดการถ่ายท้อง เพื่อขับไล่ไม่ให้เป็นโทษแก่ร่างกาย
แม่ชีเมี้ยน จึงทรงชี้ให้หลวงพ่อนิพนธ์เห็นว่า มนุษย์มีพรหมลิขิต รักษาตน ตามกรรมที่ทำมาอยู่แล้ว นั่นคือ ไม่ว่าจะอย่างไรหากไม่มีอุบัติเหตุของชีวิต ใครจะมาทำลายไม่ได้ ไม่ว่าโรค หรือ คนใด จะแช่งสักฉันใด ก็ทำให้พรหมลิขิตหายไปไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียว
นอกเสียจาก ตนของเราเองที่ทำลาย จึงทรงเรียกว่า "อุบัติเหตุ" แห่งชีวิต อันมีสาเหตุมาจากสิ่งเดียว นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกรรม ด้วยการใช้สารเคมีมาเลี่ยงกรรม จนกรรมสะสมมากขึ้น แล้วมาโครมเดียว จนร่างกายรับไม่ไหว
ความข้อนี้ จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อนิพนธ์ ต้องสอนและชี้ให้เห็น โน้มน้าวด้วยเหตุและผล โดยดูจากยอดของตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต จากโรคต่างๆ ที่พึ่งพายาเคมีเหล่านั้น ที่นับวันมีแต่จะสูงขึ้น
เมื่อเห็นภัยอันนี้ จึงเสนอแนวทางสมุนไพรของพระภูมี ที่แม่ชีเมี้ยนทรงนำมา อันต่างจากที่อื่นอย่างเด่นชัด และเรียกว่า ธรรมชาติบำบัด อันมีรากฐานจากหลัก "ตนพึ่งตน"
ดังนั้น การมาสถานที่นี้ จึงไม่มีหมอ เพราะความจริงที่พระภูมีทรงตรัสรู้ คือ เรื่องของชีวิต ใครก็ช่วยใครไม่ได้ "อยากได้ ต้องทำเอง"
หากแต่สิ่งที่สถานที่นี้มี คือ ความรู้ในธรรมชาติของสมุนไพร และเตรียมให้ไว้ พร้อมกับสอนวิธีการทาน การปฏิบัติให้สอดคล้อง เพื่อนำไปช่วยตน ตามแนวทางของพระภูมี เท่านั้นเอง
บทท้ายที่สุดอันเป็นเครื่องพิสูจน์ และยืนยัน ที่หลวงพ่อนิพนธ์มักกล่าวเสมอ นั่นคือ "หายไม่หาย ขึ้นกับตัวผู้ทาน"
อันเป็นการตอกย้ำว่า เหตุที่จะทำให้หาย ไม่ใช่มาจากสมุนไพรเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับพฤติกรรมด้วยนั่นเอง
คำสอนอันเป็นที่มาของภาษิต "ลิงหลอกเจ้า" จึงพบเห็นได้เสมอ จากการเข้าห้องสวดมนต์ ที่หาความสงบไม่ได้เลย ในหลายๆ คน นอกเสียจากเวลาที่หลวงพ่อนิพนธ์จะนั่งอยู่ หรือแม้นจะนั่งอยู่ก็ยังคุย ยังเล่นเกมส์ ยังแชท กันมากมาย
ก็ไม่น่าแปลกใจ ที่จะได้ยินเสียงคนบ่น "มาตั้งนานไม่เห็นดีขึ้นเลย"
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงชี้ว่า ก็พฤติกรรม มันทำลายเสียซึ่งคุณค่าสมุนไพรไปหมดแล้วนั่นเอง จะทานสักฉันใดก็ยากจะประสพผล
"ความสงบ" เป็นกระไดขั้นแรก เหมือนนักเรียน ป.๑ ยังทำไม่ได้ จะหวังปริญญา ก็ได้แต่เป็นความฝัน ยามหลับตา กราบขอพร ลืมตามา ก็พบความจริง คือ ร้องโอยๆ
ก็พร่ำแต่ แม่ชีเมี้ยนช่วยด้วย พระพุทธช่วยด้วย หากแต่เมื่อดูความจริง การกระทำของตน ไม่ช่วยตนของตน อันใดเลย รอแต่ให้ผู้อื่นมาช่วย ..... ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลย
บทสรุปที่หลวงพ่อนิพนธ์ มักแสดงให้เห็นเพื่อพิจารณา นั่นคือ พระภูมีทรงมีเมตตามหาศาล หากแต่สาวกที่เชื่อและทำตามเท่านั้น อันมีจำนวนไม่ถึงแสน ที่ไปได้ ก็แล้วชาวอินเดียในยุคนั้น คนเป็นร้อยล้าน ท่านก็ได้แต่มอง ช่วยอะไรไม่ได้เลย....
ก็เพราะคนทั้งหลายทั้งมวลนั้น ชอบที่จะขอพร อยากได้แต่ไม่ทำ .... มันเดินสวนทางกับหลัก "ตนพึ่งตน"
เมื่อไม่คิดทำ ก็ไม่ควรคิดมา ให้เสียเวลา
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงใช้คำว่า "ทางเลือก" นั่นคือ ใช้ไม่ได้กับทุกคน แต่ทุกคนที่ทำได้ ย่อมได้ผลแห่งการทำนี้อย่างแน่นอน
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงมักพูดว่า "หากมีคนเชื่อเราแล้วทำตามร้อย ก็หายแค่ร้อย หากเชื่อเราแล้วทำตามล้าน ก็หายทั้งล้าน หากไม่มีผู้ใดเชื่อและทำตามเลย ก็จักไม่มีคนหายเลย"
นี่เองเป็นเหตุที่ทำให้ท่านต้องมีหน้าที่พูด และไม่รู้จักเบื่อหน่าย เพื่อหาคนที่อยากรอด ฟังแล้วเชื่อแล้วทำตาม "ร้อยได้สักห้าสักสิบ ก็ดีแล้ว"