วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

เหยียบเรือสองแคม


สุภาษิตมากมาย คือ ดำรัสของพระภูมี อาจเรียกว่า พุทธสุภาษิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ชวนให้คิด ให้พิจารณา แล้วทำ

เสียดายที่ความเดิมของเนื้อหา ห่างไกลไปทุกที จนทำให้บางครั้งก็แทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม ถูกเสกสรรปั้นแต่ง ไปตามความคิดของคนรุ่นหลัง ทำให้กลายเป็นคำพูดสวยหรู ดูดี แต่หาคุณค่าแก่ชีวิตไม่ได้

คำอรรถาธิบาย ความหมายที่แท้จริง ที่แม่ชีเมี้ยนนำมาให้ และหลวงพ่อนิพนธ์ถ่ายทอดให้ฟัง จึงทำให้เราท่านได้รู้ว่า พุทธสุภาษิต ทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของชีวิต ที่ให้เป็นข้อคิด พิจารณาเหตุและผล ความเป็นจริง เพื่อที่จะเลือกหนทางแห่งชีวิตตน

ภาษิต เหยียบเรือสองแคม เป็นอีกบทหนึ่งที่เราท่านมักจะได้ยินหลวงพ่อนิพนธ์กล่าวถึง เพราะถือได้ว่า เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า การปฏิบัติธรรมหมวดสมุนไพร จักมีโอกาสสำเร็จมากน้อยเพียงใด

หลวงพ่อนิพนธ์ อรรถาธิบายให้ฟังว่า สถานการณ์ของเราท่านในปัจจุบัน เมื่อมาพบศาสนา อุปมาเหมือนเจอทางเลือก ที่จะต้องนำตนไปสู่ความสุข อาศัยซึ่งพาหนะนั่นคือ เรือ ซึ่งมีสองลำให้เลือก และทุกคนต้องไปกับเรือ

เรือหนึ่ง คือเรือของโลกที่มนุษย์คุ้นเคย เรียกเรือของโลกียะ มีกรรมเป็นอำนาจ อาศัยกลไกการขับเคลื่อน คือ การพึ่งพาคนอื่น

เรือหนึ่ง คือ เรือที่มนุษย์ไม่คุ้นเคย เรียกเรือของโลกุตระ มีธรรมเป็นอำนาจ อาศัยกลไกการขับเคลื่อน คือ การพึ่งตนเอง

เรือโลกียะ เหตุที่คุ้นเคย ก็เพราะใช้กันมาทุกภพทุกชาติ เรียกว่าเป็นวัฐจักร ที่เราท่านคุ้นเคย นั่นคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

หลายต่อหลายคน ก็ปลงตก ไม่ว่า เกิด ไม่ว่า แก่ ไม่ว่า ตาย จึงมีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์น้อย ในทุกยุคที่พระพุทธเจ้าอุบัติ แต่ที่ปลงไม่ตก ก็อ้ายตรงที มันมีเจ็บนี่แหละ

วันนี้ แม้นยังไม่มีพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ทำให้คนเบื่อวัฐจักร เพื่อไม่เกิด ยังทำไม่ได้ แต่แม่ชีเมี้ยนก็ทิ้งธรรมหมวดสมุนไพร ให้แก่หลวงพ่อนิพนธ์ มาให้เป็นทางเลือก เพื่อหนีเจ็บ

ประเด็นมันจึงอยู่ที่ เรือของโลกียะ อันเป็นเรือปีศาจ ใครเข้าไปแล้ว ก็จะพบกับทุกขเวทนา แต่ภาพที่เห็น เรือนี้ช่างสวยงาม น่าเย้ายวน ให้ใช้บริการยิ่งนัก โดยเฉพาะ คุณสมบัติของการขึ้นเรือนี้ คือ ไม่ต้องทำอะไร เป็นโปรโมชั่น อยากได้ก็ขอ ... คนมากมายจึงหลั่งไหลไปใช้บริการ แม้นจุดสุดท้าย จะเป็นทุกข์เวทนา ก็หามีคนใดสนไม่ เพราะมองเห็นแต่สุขเบื้องหน้า

หากแต่เรือของโลกุตระ ดูช่างเงียบเหงา ไม่น่ารื่นรมย์ อมทุกข์ ที่สำคัญอยากได้ต้องทำเอง ซะอีก มองยังไงก็ทุกข์ ถึงจะเป็นเรือแห่งสรวงสวรรค์ ใครได้นั่ง บั้นปลายจะมีความสุขยิ่ง คนทั้งปวงก็มองไปไม่ถึงซึ่งความสุขอันนั้น ถูกความทุกข์ที่ต้องเผชิญด้วยการอยากได้สิ่งใดต้องทำเอง แม้นปรารถนาสุข ก็ยังไม่อยากขึ้น หากไม่ถึงที่คับขัน

จึงไม่แปลก ที่คนจะขึ้นเรือของศาสนา จึงกล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว ก็คือ ผู้ที่คับขันแล้ว นั่นคือ วัฐจักรของความเจ็บมาใกล้ชิด ประติดตัว รุมเร้าจน ทำให้สุขอยู่บนเรือของโลกียะเป็นปกติไม่ได้นั่นเอง

เมื่อมีคนกลุ่มเล็กๆ เบื่อเจ็บ ก็อยากมาลองนั่งเรือของศาสนาดูบ้าง เพราะคำเล่าขานว่าสามารถทำให้หายเจ็บได้ ก็ดิ้นรนมา เพื่อขึ้นเรือลำนี้

เรือสองลำนี้ จอดติดกันที่ท่า ภาพที่เราท่านจักเห็นนั่นคือ บางคนก็ข้ามจากเรือโลกียะ มาเรือโลกุตระเต็มตัว บางคนก็ครึ่งๆ กลางๆ นั่งคร่อมมันเลยทั้งสองลำ แบบรักพี่เสียดายน้อง หลายคนก็ตัวอยู่บนเรือโลกียะ แต่ขอยื่นข้ามเข้ามาในเรือโลกุตระสักนิด หากแต่คนที่มานี้รวมกันก็มีจำนวนน้อยกว่าน้อย เมื่อเทียบกับคนที่เลือกลงเรือโลกียะ

หลวงพ่อนิพนธ์อรรถาธิบายเพิ่มให้เห็นว่า หากไม่พิเรน ไปนอกลู่นอกทาง เรือทั้งสอง ก็พาไปถึงที่หมาย นั่นคือ ตามพรหมลิขิตที่กำหนดมาเช่นกัน แต่ที่ต่างกัน นั่นก็คือ ถึงแบบสภาพไหน

ศาสน์ไม่บังคับ ว่าจะเลือกลำใด ตามแต่ใจปรารถนา แต่สิ่งที่อยากเตือน นั่นคือ ไม่ควรที่จะนั่งคร่อม ยืนคร่อมทั้งสองลำ

ด้วยเหตุที่เรือทั้งสองลำ ไปคนละทาง วันหนึ่ง มันก็ต้องออกจากท่า คนที่เกี่ยวไว้หน่อย ก็ต้องปล่อยเรือโลกุตระ กลับไปอยู่ในเรือของโลกียะ ซึ่งก็เป็นคนส่วนใหญ่ที่มา คนที่เลือกอยู่ในเรือโลกุตระ ก็ต้องทนลำบาก เพราะมีวินัยบังคับตน เป็นทุกข์ด้วยวินัยนั้น

หากแต่เมื่อเรือทั้งสองลำถึงที่หมาย คนที่นั่งเรือโลกียะ ไม่ต้องมีพันธนาการใดๆ เล่นกันไปตามนิสัย จึงเริ่มด้วยการหัวเราะก่อน เพราะปล่อยตัว ปล่อยนิสัยได้เต็มที่ หากแต่เมื่อผ่านมรสุม ร่างกายก็ทรุดโทรม ท้ายที่สุด ก็หมดเรี่ยวแรง หมดสภาพ บางครั้งก็เรียกว่า แม้นแต่จะช่วยตนในกิจกรรมประจำวันยังทำไม่ได้เลย

คนที่นั่งเรือโลกุตระ ด้วยวินัยที่บังคับตน ทำให้ร่างกายแข็งแกร่ง สู้กับนิสัยตนที่มี จนสภาพที่ดูป้อแป้ในตอนเริ่ม ล้มลุกคลุกคลาน ทรมานในตอนแรกๆ ภาพสุดท้ายกลับเป็นผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์ มีความสุขอยากทำอะไรก็ได้ทำ

เรือโลกียะ เมื่อนั่งยามต้นจึงให้ความสุขหัวร่อร่า แต่จมกับความทุกข์ในบั้นปลาย เรือโลกุตระ เมื่อนั่งต้องทนทุกข์ด้วยวินัยธรรม แต่จะหัวร่อร่าในความสุขที่ได้รับในบั้นปลาย ... จึงกลายมาเป็นคำตรัสที่ว่า "หัวเราะที่หลังดังกว่า"

หลวงพ่อนิพนธ์บอกว่า เลือกลำใดไม่ว่า แต่ที่เป็นห่วงคือพวกที่นั่งมันทั้งสองลำ ยืนมันทั้งสองแคม อันนี้ก็รัก อันนั้นก็ชอบ

คนเหล่านี้ เมื่อเรือออกจากฝั่ง ช้าเร็วก็ต้องแตกแยกออก คนพวกนี้จึงต้องตกน้ำอย่างแน่นอน

บทสรุป หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า ศาสน์เสนอตัวมาเป็นเรืออีกลำให้คนทุกข์เลือก ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมาลองนั่ง หากไม่ชอบไม่ว่า ก็กลับไปเรือที่ตนชอบ แต่อย่ามาเหยียบเรือสองแคม เพราะไม่มีวันหายสมใจ เรียกว่าเบียดเบียนผู้อื่น ช้าเร็วก็ต้องตกน้ำ จะกลายเป็นบาปเสียเปล่าๆ เพราะคนทั่วไปไม่รู้พฤติกรรม ก็ต้องบอกว่า เห็นไหม ตายเพราะไปกินสมุนไพรแม่ชีเมี้ยน ... ไม่ควรเลย แทนที่จะอยู่จนครบพรหมลิขิตในเรือโลกียะ กลับไปไม่ถึง

คำแนะนำทิ้งท้าย หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า ควรที่จะทดลองเป็นอย่างๆ จะได้รู้ว่า อันไหน ลำไหน เป็นที่พึ่งได้ ที่สำคัญ คนที่ไม่คิดจะพึ่งตนเอง ... การมานั่งเรือของโลกุตระ ก็หาความหมายใดไม่ ... เพราะการนั่ง ฟ้าดินเขาตัดสิน ไม่ได้ดูที่กาย แต่ดูที่ใจ ที่ศรัทธา

ผลแห่งคำสอนนี้ ทำให้เราท่านเข้าใจได้ว่า ทำไมหลายคนที่มุ่งมั่นทานสมุนไพร จึงไม่ประสพความสำเร็จ ไม่ว่าจะทานมากมายสักฉันใด เพราะนั่นมันเข้าข่าย นั่งแต่ตัว ... ยามสอบฟ้าดินจึงให้ตก

แลคำสอนนี้ ก็ทำให้เราท่านได้รู้ว่า จุดเริ่มอันเป็นประตูแห่งความสำเร็จในการใช้ธรรมหมวดสมุนไพร จึงต้องเรียนรู้ พิจารณาเหตุและผล เพื่อให้เกิดศรัทธา โน้มน้าวใจตน ให้ประพฤติไปให้ถูกต้องตามครรลอง เป็นหางเสือพาเดินไปสู่เป้าหมายที่ถูก ไม่มีใจ ไม่มีศรัทธา ก็ไม่มีหางเสือ พายนานสักเท่าไร ก็วนไปวนมา ไม่ถึงฝั่ง

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44