วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

สุขหรือทุกข์

อันว่าวินัยของพระภูมี หลวงพ่อนิพนธ์ กล่าวว่า "เป็นวินัยทุกข์"

ก็แล้วเราหนีทุกข์มาหาศาสนา แต่กลับเจอความทุกข์อีก แล้วมาทำไม

หลวงพ่อนิพนธ์จึงยกคำสอนของแม่ชีเมี้ยน ที่ตรัสสอนว่า "ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย" นั่นสิ่งที่เราท่านทำ เป็นตัวกระทำ มันเป็นตนแล้ว จะทำสิ่งใดย่อมไม่ตาย เมื่อสร้างทุกข์ให้แก่ผู้อื่น เป็นกรรม กรรมอันนั้นมันย่อมย้อนมายังตนของเราอย่างแน่นอน

เพราะตัวกระทำไม่ตายนี่เอง จะหนีหรือปฏิเสธสักฉันใด ก็ไม่พ้น จะสร้างปราการ ห้องปลอดเชื้อ อาหารปรุงสุกไม่มีแมลงวันตอม ใส่ยาฆ่าเชื้อ อนามัยสักฉันใด เมื่อถึงเวลา กรรมเขาทะลุทะลวง บันดาลโรคเข้ามายังตัวเราท่านได้ อย่างน่าอัศจรรย์ แล้วเราท่านก็ไปโทษโน่นโทษนี่ เป็นสาเหตุแห่งโรค

หลวงพ่อนิพนธ์ชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าอะไรกรรมก็สามารถเอาเป็นเหตุแห่งโรคได้ทั้งสิ้น คนไม่เคยทานเหล้า ก็จึงเป็นมะเร็งตับได้นั่นเอง

ย้อนกลับมายังวินัยของพระภูมี ที่แม่ชีเมี้ยนนำมา ทำให้เราท่านมีทางเลือก เพราะจะอย่างไรก็ต้องทุกข์ แต่เลือกที่จะทุกข์กับวินัยธรรม ดีกว่าไหม

การทุกข์กับกรรม มันไม่ได้ใช้แล้วจบ มันยังสร้างกรรมต่อไป รอวันข้างหน้าอีก หลวงพ่อนิพนธ์อรรถาธิบายให้เห็นภาพ อาทิเช่น กรรมทำให้เป็นอัมพฤกต์ อัมพาต ก็ทุกข์แล้ว แต่ทุกข์อันนี้ ยังไปสร้างความลำบากให้แก่ลูกหลาน ที่ต้องมาเฝ้าปรนนิบัติ แลยิ่งในวันนี้ อาจสร้างภาระหนี้สินอีกมากมาย ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เพิ่มขึ้นอีก นี่แลการใช้ทุกข์จากกรรม มันจึงไม่จบไม่สิ้น ใช้อันเก่า สร้างอันใหม่รอไว้ภพหน้าอีก

หลายคนเห็นความจริงอันนี้ จึงยอมที่จะจบชีวิตของตนลง ฆ่าตัวเองเสียดีกว่า ให้ลูกหลานลำบาก ก็มีให้เห็นมากมายในชีวิตจริง

ทางเลือกทุกข์กับวินัยธรรม จึงเป็นทางเลือกที่ดูผิวเผิน ย่อมมีแต่เสีย เสียเงิน เสียเวลา ต้องอดทน ไม่ว่าจะด้วยการทานสมุนไพร ที่ทานยาก ตามตำรับยาไทย ที่โบราณกล่าวไว้ "ขมเป็นยา" หรือ แม้นกระทั่ง ต้องทนการเสียดสี จากเจ้าหน้าที่ หรือ เพื่อนสมาชิก นั่นแลหากทำได้ จึงเรียกว่า เราท่านคือผู้ปฏิบัติวินัยธรรม

ภาพที่ควรเกิด นั่นคือ การรักษาความสงบอยู่ได้ ไม่ว่าวินัยนั้นจะทุกข์สักเพียงใด ต้องใช้ความอดทนมากสักเพียงไหน ก็ต้องรักษาความสงบอันนี้ไว้

สิ่งที่ต่างกัน ระหว่างทุกข์กับกรรม กับทุกข์กับวินัย หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า นั่นคือ วาจา และใจ แต่ที่เหมือนกันนั่นคือ กายทุกข์

ทุกข์กับกรรม บีบเค้นทั้งกาย วาจา ใจ จนหลายคนรำพึง อยากตายเสียให้พ้นๆ ไป แต่ก็ไม่ตายสักที ทรมานอยู่อย่างนั้น กรรมเขาก็เลี้ยงจนกว่าจะใช้หมดนั่นแล

ทุกข์กับวินัยธรรม แม้นกายจะทุกข์ แต่สติที่พระภูมีให้ หลวงพ่อนิพนธ์นำมาสอน ทำให้เราท่านรู้ว่า ทุกข์อันนี้ สักวันก็ต้องหมด มีวันจบ แม้นกายจะทุกข์ แต่วาจา ใจ ก็ไม่ทุกข์ด้วย สามารถรักษาความสงบ แลสติของตน ประคองไว้ ไม่ให้สร้างกรรมใหม่

ด้วยสตินี้เอง ทำให้ยอมรับซึ่งทุกข์ที่เกิด แก่กาย ไม่ปฏิเสธ ใช้ขันติอดทน แต่ทุกข์กับวินัยนี้เอง กลับสร้างสุขเกิดกับ วาจา ใจ อันมหาศาล ส่งผลต่อคนรอบข้าง แลแถมยังไม่เบียดเบียนผู้อื่นจนเกินไป

เป็นอัมพฤกต์ อัมพาต ก็พยายาม ทานสมุนไพรเอง หยิบเอง พยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด

หลวงพ่อนิพนธ์จึงมักยก คนไข้มะเร็งท่านหนึ่งที่เป็นครู มาให้ฟังเสมอๆว่า เมื่อทราบว่าตนเองเป็นมะเร็ง สภาพก็เปลี่ยนไป ความวิตกกังวล ในอาการของตน ที่เลวร้ายลง สภาพการเงินที่หมดไปกับการรักษา จนทำให้การสอนไม่ดี หงุดหงิด อารมณ์ร้าย โมโหง่าย แล้วก็ไปลงกับลูกศิษย์ เป็นอาจิณ

เมื่อครูเลือกมใาใช้แนวทางสมุนไพรของพระภูมี ที่แม่ชีเมี้ยนนำมา สภาพการณ์ก็เปลี่ยน ค่าใช้จ่ายลดลง ผลข้างเคียงไม่มี แม้นความทุกข์จากการเจ็บ การปวด จากโรค ยังคงอยู่ แต่อารมณ์ก็เปลี่ยนไป เยือกเย็น รักษาความสงบ รู้จักใช้วินัยธรรม "ความไม่โกรธ ไม่เห็นผู้อื่นผิด" ควบคุมตน

ครูกลายเป็นคนละคน การสอนก็ดีขึ้น ไม่เคยว่ากล่าวนักเรียนอีกเลย กลายเป็นครูดีเด่น ที่ลูกศิษย์ชื่นชอบ และยกย่อง พร้อมกันนั้น อาการของตนก็ดีวัน ดีคืน

นี่แล มองผิวเผิน วินัยธรรม ก็เป็นวินัยทุกข์ โดยเฉพาะแก่กายตน หากแต่เมื่อพิจารณา แล้วทำ จะเกิดศรัทธา เพราะจะได้สุข แม่ชีเมี้ยนทรงเรียกว่า "สุขนิสัย" เพราะสุขอันนี้ ทำให้เราท่านไม่สร้างกรรมเพิ่ม หรือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นจนเกินไป แลเมื่อทำแล้ว รู้ดีว่า กรรม ที่สร้าง เมื่อยอมใช้ สักวันก็ต้องหมด ชีวิตใหม่ ชีวิตสุข รออยู่วันข้างหน้า

แลสุขที่ได้มาไม่รู้ตัว จากตัวอย่างที่หลวงพ่อนิพนธ์ยกมา โดยการทำนิสัยพระพุทธเจ้า นั่นคือ มีแต่คนรัก คนอยากคบหา หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า นี่แลเมตตามหานิยม ของพระพุทธเจ้า ทำสิ่งไรก็เจริญ

บทสรุป หลวงพ่อนิพนธ์จึงชี้ให้เห็นว่า นี่แล ทำไมพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จึงสุขเพราะมีธรรม ทั้งที่คนทั้งโลกบอกว่าวินัยของวินัยของท่าน นั้นทุกข์มหาศาล ฉันมื้อเดียว เงินทองไม่รับ รถเรือไม่ขึ้น ไปไหนก็เดิน แต่พระพุทธเจ้าบอก กรรมทำให้ทุกข์นั้นสาหัสสากรรจ์กว่าเยอะ

ศาสตร์จึงเป็นเรื่องของคนมีปัญญา พิจารณาเห็น จึงทำวินัยธรรมได้ไม่เบื่อหน่าย ไม่มีวันหยุด

สิ่งที่ควรพิจารณา ให้เห็นจริง อย่างหนึ่ง คือ "รับของผู้อื่น กับ ให้ของผู้อื่น" สิ่งไรให้สุขมากกว่ากัน ฉันใดก็ฉันนั้น ทำไมเราท่าน หลวงพ่อนิพนธ์ จึงสอนให้ มารวมกันที่นี่ แล้วทำให้ผู้อื่นนั่นเอง ทั้งๆที่ตอนทำให้นั้น ไม่ว่าสิ่งไร มันเหนื่อยน้อยซะเมื่อไหร่ นั่งรอเฉยๆ รับไม่ดีกว่าหรือ

แต่ศาสตร์เขาก็ไม่บังคับ แล้วแต่ความพอใจ อยากเป็นพระเวสสันดร หรือ เป็นชูชก ก็สุดแต่ใจ เลือกกันเอง เล่นกันเอง

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44