เมื่อพระภูมีชี้ให้เห็นว่า "มนุษย์มีกรรมเป็นอำนาจ และต้องเป็นไปตามกรรม"
นั่นทำให้เราท่าน ได้รู้ว่า กรรมเป็นอำนาจ เป็นนามธรรม ในขณะที่ "โรค" คือ รูปธรรม เป็นตัวแทนแห่งอำนาจของกรรม
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงกล่าวให้ฟังเสมอว่า มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะคิดค้นยา มาใช้แก้ไข โรค ที่มาทำหน้าที่คร่าชีวิต เพราะถ้าทำได้ นั่นคือ มนุษย์มีอำนาจชนะกรรมได้
หากแต่ประวัติศาสตร์ มีเพียงพระภูมี เท่านั้น ที่มีภูมิปัญญาเอาชนะกรรมได้
และช่องทางที่พระภูมีทิ้งไว้ให้ ด้วยการชี้ให้เห็นว่า กรรม คือ สิ่งที่เราทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ การแก้ไขนั่นคือ การเดินสวนทาง ทำให้ผู้อื่นเป็นสุขนั่นเอง
บัญญัติโรงทาน จึงถือกำเนิดขึ้น ก็ด้วยเพื่อเปิดโอกาสให้ คนที่ทุกข์ หรือคนกลัวทุกข์ ได้ทำในสิ่งที่แก้กรรมแก่ตนนั่นเอง
โรงทานของพระภูมี จึงมิใช่มีไว้เพื่อรับเงิน หากแต่เปิดเพื่อรับวัตถุ เพื่อนำไปแปรเป็นสุขให้แก่ผู้อื่น สร้างสถานะแก่ผู้ที่ทำ ว่าคือ "ผู้ให้"
ดังนั้น ในการนำวัตถุมาร่วม เพื่อสร้างสุขให้แก่ผู้อื่น ในยุคถ้ำกระบอก แม่ชีเมี้ยน จึงให้ผู้ที่นำมา กล่าวบทถวาย ดั่งที่เขียนอยู่หน้าหิ้ง ตรงหน้ารูปแม่ชีเมี้ยนในปัจจุบัน ที่ขึ้นว่า "ของของข้าพเจ้า ขาวอย่างกับดอกบัว ...." นั่นเอง
และเมื่อถวายเสร็จ ก็ทำการอุทิศให้แก่เจ้ากรรม นายเวร ดังบทที่กล่าวหลังการสวดมนต์ ...ที่ว่า ณ.สถานที่นี้ ข้าพเจ้าขออำนาจ..."
บัญญัติ หรือ วินัย ในการช่วยตน ให้พ้นจากโรคภัย จึงเป็นดั่งคำขวัญที่ว่า "สมุนไพรล้างโรค บุญล้างกรรม"
ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง หากแต่อยากประสพผล จำต้องใช้ทั้งสองขา
คนจำพวก สวดมนต์ไม่เอา ธรรมไม่สน อะไรก็ปฏิเสธหมด ไม่คิดจะเปลี่ยนอะไรของตนเลย แล้วมาอ้าง สมุนไพรเพียงอย่างเดียว .... หลวงพ่อนิพนธ์จึงยืนยัน นอนยัน ว่า คงเป็นไปได้ยาก
เพราะท้ายที่สุด ในความต้องการของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย นั่นคือ คนดี
สมุนไพรเป็นเครื่องลางของฟ้าดิน สิงศักดิ์สิทธิ์คงไม่ส่งเสริมให้สำหรับคนที่มาหลอกทาน หายแล้วมีกำลังไปทำชั่วได้อีก เป็นแน่
วันใดที่โรงทานของชมรม เต็มไปด้วยสมุนไพร ผู้ป่วยมีสมุนไพรทานกันอย่างเต็มที่ และปฏิบัติตนตามธรรมคำสอนของพระภูมี แล้วมาดูกัน ว่า "ไม่ว่าโรคอะไร ก็ไม่เกินภูมิปัญญาของพระภูมี"
ข้อแม้ประการเดียว ที่มี คือ ใครก็ช่วยใครไม่ได้ อยากได้ต้องทำเอง .... "ใครทำ ใครได้" คนที่ไม่ได้ คือ คนที่ไม่ทำ