หลายคนมักกล่าวว่า มาที่นี่พูดอยู่นั่นแหละ สอนอยู่นั่นแหละ "สัจจะ สัจจะ สัจจะ" อะไรก็วนไป วนมา อยู่แค่นี้ ไม่เห็นมีอะไรเลย
บางคน ก็ว่า มันก็แค่ข้อปฏิบัติข้อหนึ่ง ในหลายๆข้อ คือ สัจจะบารมี เท่านั้นเอง ไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรนัก
แล้วคนทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไปแสวงหา สิ่งที่ตนคิด สิ่งที่ตนชอบ ว่าจะทำเพื่อเป็นบุญ เป็นบารมี บางทีก็ทำได้ยากยิ่ง ลำบากยิ่ง ก็แสวงหาไปตามแต่ที่ตนชอบ
หลวงพ่อนิพนธ์ จึงชี้ว่า ศาสน์ของพระภูมีที่แม่ชีเมี้ยนนำมา ให้พิจารณาว่า สิ่งที่ค้นหามาช่วยตน อยู่ใกล้นิดเดียว ไม่ต้องไปค้นหาอื่นไกล แลที่สำคัญ คือ ทำไม่ได้
บ้างก็กว้างใหญ่เกินไป อาทิ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หากทำได้ ก็วิเศษยิ่ง แต่หลวงพ่อนิพนธ์ชี้ว่า สรรพสัตว์ มีเล็กกว่าขนตา จนใหญ่เท่าปลาวาฬ จะมีผู้ใดเล่าที่สามารถระวังระไว ไม่ให้พลาดไปฆ่าชีวิตสัตว์เหล่านั้นได้ ศีลที่รับมา รับเสร็จ เดินออกมา เหยียบใบไม้ สัตว์ที่อยู่ใต้ใบไม้ ตัวเล็กนิดเดียว มองไม่เห็น ตายไป ศีลนั้นก็เสียไปเสียแล้ว
บ้างก็ลำบากจนยากจะทำ อาทิ ให้ทานผลไม้วันละผล นั่งสมาธิทั้งวัน ทั้งคืน ก็คงจะมีใครทำได้บ้าง แต่ก็น้อยนัก
ศาสนาพุทธเป็นสายกลาง ในทางปฏิบัติ จึงกล่าวว่า "เอาเท่าที่ทำได้" แบกได้แค่ไหนทำแค่นั้น จึงบัญญัติสัจจะ เพื่อเป็นสัญญาใจ ให้เรายึดเป็นสติ
ไม่อยากฆ่าสัตว์ ก็ลดลงมาเท่าที่ทำได้ อาทิ ไม่ฆ่าสัตว์ใหญ่ ไม่ฆ่ามนุษย์ แทนที่จะกินทั้งวัน ลำบากคนทำอาหาร คนเตรียม หรือ กินน้อยไปจนร่างกายไม่ไหว ไม่มีแรงจะทำอะไร ก็กลายเป็น ทานวันละมื้อ
บทสรุป หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า สัจจะ เป็นสัญญาใจ เพราะลำพังคำพูดมันไม่พอ ต้องใช้สัจจะ จึงจะมีกำลัง เป็นสตินำตน ที่สำคัญคือ "พูดแล้ว ทำได้" เมื่อทำได้ สิ่งที่ทำ ตัวกระทำไม่ตาย มันจะมีผลตอบแทน ย้อนมาหาตน เป็นที่พึ่ง จึงเรียก หลัก "ตนพึ่งตน" คือ พึ่งการกระทำของตน ทีทำได้นั่นเอง
เมื่อมองอีกด้านหนึ่ง ผู้ที่มีสัจจะ จึงเป็นผู้ที่มีวินัย ทำตนเหนือคนทั่วไป ลดนิสัยไม่ทำในสิ่งที่คนอื่นทำ กินมื้อเดียว ก็เหนือคนทั่วไป ไม่ฆ่าสัตว์ใหญ่ ไม่ฆ่ามนุษย์ ก็เหนือคนทั่วไป ไม่โกรธ ก็เหนือคนทั่วไป ... สัจจะเพียงข้อเดียว ก็ทำให้ตนเหนือมนุษย์ทั่วไปแล้ว จึงได้สิทธิ์เหนือมนุษย์ เป็นอำนาจ เป็นที่พึ่งแห่งตน ให้สมปรารถนา เมื่อปรารถนาหายโรค จึงได้สิทธิ์นั้นเป็นธรรมดา ด้วยวิบากจากวินัยที่ตนทำส่งผลให้นั่นเอง หากทำได้มาก วิญญาณก็ยิ่งสูง เหนือมนุษย์ทั่วไปมาก จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไม ท่านอาสิกล่าวว่า ใจสูงคือ วิญญาณอยู่สูง กายย่อมสูงตาม มันจึงพ้นโรค
คนมีสัจจะ จึงเป็นคนมีที่เว้น ไม่ปล่อยตัวเหมือนคนทั่วไป ย่อมดูได้ ในพิธีกรรมของศาสนา ก็บังคับตนให้สงบ เพราะนั่นคือที่พึ่งของตน ถ้าตนทำได้ ก็มีสติ ทำตนเป็นคนมีที่เว้น โกรธสักฉันใด มีสัจจะไม่ฆ่ามนุษย์ ก็ไม่คว้าปืนมายิงใคร พูดฟังง่าย หลวงพ่อนิพนธ์แลท่านอาสิ ก็ม้กใช้คำว่า "ลดกิริยาลง" ทำเหมือนคนอื่นไม่ได้
เมื่อทำตนไม่ธรรมดา เหนือมนุษย์ มีที่เว้น ผลก็คือ "กรรมเขาก็เว้น ให้โอกาส" ทำให้มีวันเวลา ในการฟื้นฟูตน หรือ ฟื้นฟูตนได้ง่าย
นี่จึงเป็นเหตุให้ทำไมต้องทำ "สัจจะ" หรือให้มีที่เว้น มิฉะนั้น ลำพังแรงเราท่าน ไปชนกับกรรมที่ทำมา ก็ไม่ต่างกับคนทั่วไป หงายเก๋ง หามกลับ
พูดง่ายๆ ก็คือ หาพวกมาช่่วยรุม ช่่วยสู้กับกรรม นั่นเอง หนทางชนะมันจึงเป็นไปได้ มิอวดอ้าง ยาดี สมุนไพรดี คาถาดี น้ำมนต์ดี แล้วชนะโรค ... คนช่วยเองยังไม่รอด ดั่งคำ หมองูตายเพราะงู นั่นเอง เพราะคู่ต่อสู้ไม่ใช่โรค ต้นเหตุมันคือ "กรรม"
ถ้าจะตอบ เมื่อใครถาม ว่าทำไมที่นี่มีคนหายโรค ก็เพราะคนเหล่านั้น ฟังคำสอน แล้วพิจารณา แล้วทำ ยิ่งหาพวกมารุมได้มากเท่าไหร่ โอกาสชนะ ยิ่งมากเท่านั้น จึงบอกเสมอว่า เป็นไปได้ ถ้าทำได้ แต่ถ้าไม่ทำ สมุนไพรอย่างดีก็แค่หายโรคนี้ ไปเป็นโรคนั้น หรือ ประทังไปวันหนึ่งวันหนึ่งเท่านั้นเอง
เสมือนคนอยากรวย ก็ต้องเค็ม เก็บทุกเม็ด จะเป็นหนี้สมุนไพรที่คนอื่นเอามา ก็ไม่เป็น ข้าก็เอาของข้ามา จะเป็นหนี้แรงที่ทำสมุนไพรให้ ข้าก็ไม่เป็น ข้าก็เป็นจิตอาสา จะเป็นหนี้กรรม ข้ารู้แล้วข้าก็ไม่ทำเพิ่ม "ใช้สัจจะนำตน" ลดในสิ่งที่ตนพอทำได้ ทำเองออกดอกออกผลไม่พอ ก็เหมือนไปกินดอกแบงค์ ข้าก็ไปใส่บาตร เกาะชายผู้ปฏิบัติ แบ่งบุญมาเลี้ยงตน ปิดบัญชี หนี้กรรมก็มีแต่ลด บุญก็มากมายเพิ่มขึ้นทุกวัน ผลก็ย่อมเสมือนคนรวย ที่พ้นความจน คือ พ้นโรค พ้นกรรม อย่างแน่นอน
ใครจะว่าสิ่งไหนทำแล้วดี ไม่ว่ากัน แต่ยืนยันว่า "พูดแล้ว ทำได้" นั่นและดี สัจจะที่วางไว้ นำสติตน แล้วทำได้ นั่นแหละที่พึ่ง ไม่ต้องไปมองวิธีอื่นไกล ที่ไหนเลย