วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สัจจะ ๒


คำถามก็คือ การทำสัจจะ ทำอย่างไร

หลวงพ่อนิพนธ์สอนว่า ก็เหมือนการทำนิสัยกรรมนั่นแล ต้องเริ่มจากทีละน้อยๆ วันละหนึ่งหรือสองชั่วโมง ทำแต่พอที่กำลังจะทำได้ เมื่อทำได้ ก็ค่อยๆเพิ่มเวลาหรือ จำนวนข้อขึ้น

สิ่งที่แตกต่างอย่างเด่นชัด ในการทำสัจจะกับคำสอนอื่นๆ นั่นคือ การเริ่ม แม้นการกล่าวจะดูคล้ายกัน คือ กาย วาจา ใจ ก็ตามที

หลวงพ่อนิพนธ์ชี้ให้เห็นว่า คำสอนทั่วไป มักสอนให้ทำใจ หากแต่การทำสัจจะ แม้นสิ่งที่วางอาจจะดูเหมือนว่าให้ทำใจ เช่น ไม่โกรธ แต่ก็ต้องเริ่มที่กายก่อน เพราะใจเป็นของละเอียด หากแต่กายเป็นของหยาบ ทำได้ง่าย

อรรถาธิบายเพิ่มเติมให้ฟังว่า เช่น เมื่อเราท่านวางสัจจะไม่โกรธ เมื่อมีเหตุมากระทบ เช่นสิ่งที่ทำเราทำถูกอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว แต่ถูกต่อว่า ความโกรธก็จะเข้ามาทางอารมณ์ เมื่อเริ่มทำใหม่ๆ จะให้หยุดโกรธนั้นสติธรรมของเราท่านยังเล็กอยู่ ไม่สามารถทำได้หรอก ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ ก็ลดระดับมา นั่นคือ คุมวาจาให้ได้ หากแต่ว่าก็ยังเป็นงานยาก จึงเริ่มที่กายก่อน จึงต้องหยุดกายไม่ทำร้ายผู้อื่นให้ได้นั่นเอง

คำแนะนำที่หลวงพ่อนิพนธ์มักสอนพระ เพราะรู้ดีว่า สัจจะทำยาก ดังนั้น เมื่อเผชิญเหตุ แล้วหยุด กาย วาจา ใจ ของตนไม่ได้แน่ จึงเริ่มที่การพากายหนีเหตุก่อน เมื่อรู้ตนว่าอารมณ์โกรธมา แล้วจะหยุดคงไม่ไหว ก็อาศัยวิธีนี้ไปก่อน เมื่อฝึกนานเข้า จึงเริ่มหยุดกายโดยไม่หนีเหตุ

ดังนั้น การทำสัจจะ หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า เริ่มที่ควบคุมกาย จนกายล้น ก็ควบคุมวาจา เมื่อวาจาล้น จึงจะเริ่มควบคุมใจ

แลด้วยนิสัยคนไม่เหมือนกัน ต่างกรรมต่างวาระ ดังนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องวางสัจจะให้เหมือนกันทุกตัวคน

ดังนั้น พระภูมีจึงให้นั่งกรรมฐาน มิใช่นั่งหลับตาเพื่อให้เห็นโน่นเห็นนี่ ไอ้นั่นมันคนบ้า หลับตาก็ไม่เห็นอะไร มืดอย่างเดียว แต่การนั่งกรรมฐาน ของพระภูมี ไม่จำเป็นต้องหลับตา อาจจะนั่งฟังพระภูมีเทศนาไป เข้ากรรมฐานไป

กรรมฐานจึงใช้ทำเพื่อพิจารณานิสัยตน ว่าสิ่งที่ทำในอดีตแล้วเป็นกรรม ให้โทษแก่ตนอย่างร้ายแรง คืออะไร ฟังเทศนาไป แล้วจับเอาคำใดคำหนึง ประโยคใดประโยคหนึ่ง ของพระภูมี แล้วนำมากำหนดเป็นสัจจะนำตน เพื่อลดนิสัยนั้นประการหนึ่ง

แลกรรมฐานที่ทำเพื่อพิจารณา สัจจะที่ทำไปแล้ว ว่าเป็นผลหรือไม่อย่างไร พิจารณาเหตุและผล เพื่อให้เกิดสติ เมื่อเหตุมาในครั้งต่อไป จะได้ตื่นตัวได้เร็ว และควบคุมนิสัยตนได้ดีขึ้นนั่นเอง

ประการที่สำคัญในการทำกรรมฐาน หลวงพ่อนิพนธ้สอนว่า ให้พิจารณาว่า การกระทำเช่นใดที่ทำแล้วให้ผลถูก ก็พึงรักษาไว้ การกระทำใดที่ทำแล้วให้ผลผิด ก็ควรพึงระวังระไว ละทิ้งเสีย

นี่เองจึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมเวลาประชุมสงฆ์ หรือฟังธรรม จึงมีความสงบเป็นเอกลักษณ์ เพราะสาวกทุกองค์รู้ดีว่า ตนเองแลผู้อื่น กำลังรอฟังธรรมที่จะใช้นำตน เพื่อช่วยตนนั่นเอง

หากแม้นการพูดของเราท่าน ทำให้ตนแลผู้อื่น พลาด ไม่ได้ยินคำตรัสของพระภุมี จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นหรือตน ไม่สามารถช่วยตนได้ ก็เข้าข่าย เจตนาฆ่าคนตาย จะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่พ้น

บทสรุป หลวงพ่อนิพนธ์กล่าวว่า ธรรมของพระภุมี ไม่จำเป็นต้องรู้มาก รู้หมด ขอแค่จับแค่คำเดียว ประโยคเดียว แล้วมาพัฒนาวิญญาณของตนได้ ก็เพียงพอแล้ว

เมื่อเริ่มจากสัจจะเพียงข้อเดียวแล้วทำได้ ก็เสมือนนิสัยกรรม นิสัยธรรมก็จะเพิ่มพูน การเพิ่มข้อก็จะง่าย อุปมานาข้าวทั้งแปลง ปลูกตรงไหนก่อนก็ได้ ขอเพียงให้เจริญเติบโตงอกงาม เดี๋ยวก็แตกงอก จนเต็มแปลงได้เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น

นี่เองจึงไม่แปลกว่า ธรรมของพระโคดมมีสี่หมื่นแปดพันพระธรรมขันธ์ ให้สงฆ์ได้เริ่มทำ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ท้ายที่สุด ก็สำเร็จมรรคผล นิพพานเหมือนกัน

คำเตือนของเรา จึงอยากบอกว่า อย่าเอ่ยปากพล่อยๆ ในการวางสัจจะธรรม ไม่ทำก็อย่ารับ หากรับก็ต้องทุ่มเทควบคุมตน เพราะเดิมพันคือชีวิต ไม่สามารถต่อเหมือนคำสอนอื่นๆได้

โบราณจึงสอนว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ มันเพี้ยนมาจากสัจจะนั่นเอง

เขียนมาให้พิจารณา ไม่ได้เพื่อแย้งหรืออวดอ้างแข่งกับผู้ใด พิจารณาแล้วเชื่อแบบไหน ไปแบบนั้น ไม่จำเป็นต้องโต้เถียงกันว่า ของฉันถูก ของแกผิด หากทำให้ผู้ใดขุ่นเคือง ขอน้อมรับแต่เพียงผุ้เดียว

ท้ายสุด จึงอยากบอกว่า หากไม่คิดจะทำ ก็อย่ามีพฤติกรรมฆ่าผู้อื่น ในยามเข้าห้องสวดมนต์แลฟังหลวงพ่อนิพนธ์ นั่งสงบนิ่งๆ ก็ถือว่าเป็นบุญแล้ว ที่ช่วยทำให้ผู้อื่นรอด กลับกัน เสียงของเราเมื่อพูด จะปฏิเสธสักฉันใดก็ไม่พ้น ว่าฉันไม่ได้ฆ่าเขา

เราท่านไม่เคยได้เห็นได้ยิน พระทุศีล คนทุศีล ถูกธรณีสูบ แต่คนผิดวินัย ผิดสัจจะของพระพุทธเจ้า หรือแค่เพียงท้าทาย มีเรื่องเล่าขานมาให้ประจักษ์ มิใช่หรือ

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44