แม้นมีความรู้เพียงน้อยนิด ก็เรียกได้ว่าเหนือคนธรรมดาทั่วไป
ด้วยรู้เหตุแห่งที่มาของปัญหา และรู้ควรว่าจะแก้โดยวิธีใดนั่นเอง
หลวงพ่อนิพนธ์ อุปมาให้เห็นอย่างง่ายๆว่า คนผู้หนึ่งค้าขายไม่ดี ก็โทษนั่นโทษนี่ เปลี่ยนสถานที่ก็แล้ว สร้างอวงจุ้ยก็แล้ว นางกวัก ก็ไม่กวัก ไปรดน้ำมนต์ ใช้ทุกกลยุทธวิธี ... ก็ยังไม่ประสพผลสำเร็จ
แต่พระพุทธเจ้า ชี้ให้เห็น เหตุมาแต่กรรม กรรมมาจากการกระทำแห่งตน ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่แก้ไข ล้วนเป็นปลายเหตุ ทำให้การค้าขายไม่ประสพผล หากแต่สิ่งที่เป็นต้นเหตุ นั่นคือ นิสัยตน กลับเพิกเฉยไม่ถูกแก้
หลวงพ่อนิพนธ์จึงกล่าวว่า การฟื้นฟูตน กระบวนการที่ใช้ แลช่วยตนได้ เมือนำไปใช้ทางโลก ก็ไม่ยากเลยที่จะประสพผล
เมื่อมีนิสัยพระพุทธเจ้า จุดเริ่มของการค้าก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่มีเป้าหมาย อะไรก็ได้ ขายหมด ขอให้ได้กำไรยิ่งเยอะยิ่งดี ฝักปลาจะเน่า ก็ดองฟอร์มาลีน เอามาขายได้ ไม่สนว่าคนทานจะเป็นเช่นไร ของเน่าก็ซุกไว้ด้านล่าง ปนไปกับของดีด้านบน ขายเหล็ก ก็ไม่เต็มน้ำหนัก ขายรถก็ย้อมแมว แล้วก็มานั่งดีใจ คนซื้อมันโง่ ...
เมื่อมีนิสัยพระพุทธเจ้า ความคิดก็เปลี่ยนที่จะให้สขแก่ลูกค้า เป็นสำคัญ เพราะเชื่อตามคำสอนที่ว่า ให้สุขแก่เขา สุขนั้นถึงตัว เป็นเป้าหมาย ของดี ก็บอกว่า ดี ของไม่ดี ก็บอกว่าไม่ดี ราคาก็ยุติธรรม พูดจาก็เสมือนดั่งสัจจะ รักษาคำพูด ซื่อสัตย์ ไม่มีเหลี่ยมมีคู หลอกต้มลูกค้า
นิสัยที่ฝึกในการใช้ฟื้นฟูตน ก็จะกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า นะเมตตา ใครเห็นใครก็รัก ใครเห็นใครก็หลง เป็นคนน่าคบ น่าเชื่อถือ น่าทำการค้าด้วย เพราะสบายใจ การค้าก็จะเจริญรุ่งเรือง จากปากต่อปาก
น่าเสียดาย คนสมัยนี้ เรียนตำราต่างประเทศ แล้วก็เชื่อ ไม่คิดพิจารณา เดินตามก้นฝรั่ง คิดว่าเป็นตำราชั้นเลิศ ในที่สุด ก็ทำลายธุรกิจตนเสียสิ้น
เราจึงอยากกระตุ้น ให้คนที่ฟื้นฟูตนจนสำเร็จ ควรที่จะนำไปพิจารณา แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความคิด จากกำไร ขาดทุน ไปเป็นตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่หลวงพ่อนิพนธ์สอน
มีคำกล่าวว่า "ลูกค้าถูกเสมอ" หากแต่เราว่า นั่นมันแคบไป หากเราท่าน เอาสัจจะไปประกบ "ไม่เห็นผู้อื่นผิด" ไม่ว่า ผู้ร่วมงาน คู่ค้า หรืออื่นใด อะไรจะเกิดขึ้น
ร้านค้า ที่มุ่งจะให้สุขอยู่เสมอ ... คนซื้อจะคิดอย่างไร
เมื่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ฝึก แม้นเริ่มต้น จะเพียงเพื่อช่วยตน ให้หายโรค เริ่มจาก "ไม่โกรธ" "ไม่เห็นผู้อื่นผิด" ในเมื่อมีผลมหาศาลแก่ตนได้ หากนำไปใช้ในทางการค้า ในองค์กรของตน ย่อมฟื้นฟูกิจการได้อย่างแน่นอน เช่นกัน
อย่าไปบ้าจี้ตามฝรั่ง หาเหตุแห่งความล้มเหลว โทษนั่นโทษนี่กันอยู่เลย กลับมาแก้ที่ตน นิสัยแห่งตน อันเป็นเหตุแห่งกรรม กันดีกว่าไหม ตามหลวงพ่อนิพนธ์สอน แล้วดูผล
ใครถามว่า ทำไมจึงทำแบบนี้ ก็ตอบไปว่า "พระพุทธเจ้าทรงสอน"
นี่แล เราท่านจึงจะเป็นเสมือนพระมาลัย และกล่าวได้เต็มปากว่า เราท่านเป็นพุทธศาสนิกชน ทำตนรอพระพุทธเจ้า
เมื่อเดินอยู่ในแนวให้สุขผู้อื่น เป็นกรรมแห่งตน ผลที่ได้ จะเป็นทุกข์ กิจการจะล่มจม เป็นไปไม่ได้เลย
หลักปราชญ์ จึงใช้ได้กับทุกสรรพสิ่ง อย่าเพียงแค่ทำอยู่ในมูลนิธิ เดินออกไป ก็วางทิ้ง แล้วจะพบว่า นี่แลสุดยอดเมตตามหานิยม ใครเห็น ใครรัก ใครเห็นใครหลง
ก็คนคิดแบบพระพุทธเจ้า มองไปในโลกใบนี้ มันมีที่ไหนกันเล่า มีแต่ คิดจะเปรียบกัน แย่งกัน
หลวงพ่อนิพนธ์จึงยกตัวอย่างแม่ค้าท่านหนึ่งที่เป็นมะเร็ง เมื่อฟังคำสอน พิจารณา แล้วทำตาม จากเคยชั่งก็ไม่ค่อยครบ กลายเป็นมีแต่เกิน ของไม่ดี ก็ยอมคัดทิ้ง ไม่เอามาขาย ไม่นานแม่ค้าผู้นี้ ก็หาย ถามสิว่า เขาได้หรือเขาเสีย เขาอาจจะเสียรายได้ แต่ได้ชีวิต และไม่ต้องเสียค่ารักษา แถมยังทำมาหาเลี้ยงตนได้อีก ไม่ต้องนอนรักษาตัว ... ที่สำคัญ ขายของได้มากขึ้น เพราะลูกค้าต่างเชื่อถือ .... นี่เรียกว่า ได้หรือเสีย
บทสรุป ใครที่คิดว่า มาในแผ่นดินนี้มีแต่เสีย งานก็ไม่ได้ทำ ไหนจะเสียเวลา เสียค่ารถ เสียค่ากิน ... นั่นมันคนโง่ คิดตื้นๆ เป็นคนที่มองค่าของชีวิตตนเองต่ำ คนแบบนี้ยากจะประสพผล เพราะหวังแต่ผลเฉพาะหน้าเท่านั้นเอง