วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

มันเรื่องของกรรม

หลวงพ่อนิพนธ์ ชี้ให้เห็นชัดในวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเพื่อการหลุดพ้น หรือเพื่อตวามไม่มีโรค ล้วนแล้วแต่เป็นวินัยทุกข์ จึงมีธรรมเตือนสติเพื่อเผชิญ นั่นคือ ทุกข์วันนี้สุขวันหน้า

ก็ด้วยเหตุแห่งที่มานั้นคือ เราท่านมีกรรมเป็นอำนาจ แถมเป็นการกระทำที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ รอเวลาเอาคืน เท่านั้นเอง

เมื่อเราท่านหวังผล ในขณะที่ผู้ทำก็หวังผล แต่กติกา วินัยมันมีอยู่ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ทำ ก็อุปมาเหมือนตบมือข้างเดียว นั่นคือ ผลไม่เกิด การกระทำใดๆ ก็เสียผล ไม่ได้บุญมาเลี้ยงตนไม่ว่า กลับได้หนี้เวรหนี้กรรมมาด้วย เพราะทุกสรรพสิ่งที่มา ล้วนแล้วแต่มีแรงอธิษฐาน มีความหวัง ตั้งรอไว้ทั้งหมดทั้งสิ้น

หลวงพ่อนิพนธ์แปลความหมายของกรรมให้ฟัง นั่นหมายความว่า ทำให้เป็นทุกข์ เมื่อมาสถานที่นี้ จึงมีนัยว่า ทุกคนล้วนทำตัวเป็นเหตุซึ่งกันและกัน หากแต่สิ่งที่จะทำให้ทุกข์นั้นกลายเป็นบุญ ก็ด้วยองค์ความรู้ สติ เพื่อหยุดกรรมนั้น ให้กลายเป็นการใช้กรรม แลแปรเป็นบุญ

แลด้วยความจริงที่ แผ่นดินนี้ไม่มีการสนับสนุนใดๆ อาศัยการพึ่งตัวเองของคนในชมรม ดังนั้น การสูญเสียทรัพยากรใดๆ ไม่ว่าหลวงพ่อนิพนธ์ รวมไปถึงคณะกรรมการ ไปจนจิตอาสา ย่อมหวงแหนเพราะมีน้อย จึงจำเป็นต้องให้เฉพาะผู้ที่ต้องการจริงๆ เท่านั้น เพื่อผลบุญตอบกลับมาทั้งสองฝั่ง ได้ไปเลี้ยงตน

หลายต่อหลายครั้งเจ้าหน้าที่ จึงทำตัวเป็นเหตุใหญ่ให้แก่สมาชิก โดยเฉพาะอาจใช้คำพูดที่ค่อนข้างจะถือได้ว่า ไม่แคร์ ไม่ง้อ ไม่มีซึ่งความเมตตา ไปจนถึงหยิ่ง ก็เพราะหวังในผลที่จะเกิด

หรือ อาจจะเกิดจาก สติของเจ้าหน้าที่บางคนยังไม่โตพอ กรรมก็อาศัยในการทำตนให้เป็นเหตุแก่สมาชิก หลายท่าน นั่นคือ กรรมจะทำทุกอย่างทุกรูปแบบ ให้สมาชิกออกจากที่นี้ให้ได้

ไม่ว่าจะเป็นการน้อยใจ ไม่พอใจ หรืออะไรก็แล้วแต่ หากไม่มีสติพอ หรือ ไม่เอาเหตุ เอาผล ที่หลวงพ่อนิพนธ์ให้มาเป็นน้ำหนักถ่วง ก็หลุดลอยไปเผชิญกรรมเหมือนเดิม ได้โดยง่าย

หลวงพ่อนิพนธ์จึงมักยกเรื่องครั้งพระโคดม กำลังทำตนเป็นพระพุทธเจ้าให้ฟังเสมอ ในหัวข้อเด็กเลี้ยงควาย อันชี้ให้เห็นมุมมองอันเกิดจากสติ ด้วยเหตุที่เมื่อครั้งพระโคดม ทำตนมาได้หลายปี ก็มีความคิดว่า ตนของตนนั้นดีแล้ว สามารถตัดกิเลสได้หมด มาวันหนึ่ง เดินผ่านทุ่งนา พบเด็กเลี้ยงควายคนหนึ่ง จะด้วยเหตุใดไม่ทราบ เด็กเลี้ยงควายเห็นพระโคดม แล้วก็หยิบก้อนหินปาที่ศรีษะของพระโคดม พระโคดมก็เกิดอารมณ์โกรธ เด็กเลี้ยงควายนั้น เมื่อเดินต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง พระโคดมใช้สติพิจารณา เห็นตนของตน ที่เคยเชื่อมั่นว่า หมดกิเลส แต่แค่เด็กเลี้ยงควายทำแค่นี้ ความโกรธก็พุ่งขึ้นมาเต็มประดา แล้วจะเรียกตนว่าหมดกิเลสได้อย่างไร จึงเดินย้อนกลับไปหาเพื่อขอบคุณเด็กเลี้ยงควาย ที่ทำให้ตนมีสติ แลไม่หลงตัวหลงตน ว่าเป็นผู้หมดกิเลสแล้ว

เฉกเช่นเดียวกัน เราท่านกำลังมาเดินในหนทางนี้ เพื่อลดนิสัยเป็นบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะตั้งใจลดกิเลสนิสัยสิ่งใด เพื่อให้เป็นบุญมาเลี้ยงตน ย่อมต้องมีเหตุมาเพื่อผลแห่งบุญนั้น

บทสรุปที่หลวงพ่อนิพนธ์ชี้ให้พิจารณานั่นคือ หากจะหาบุญ ต้องจับตนค้นตน จึงจะพ้นทุกข์ วันนี้ คนที่มาทำให้เราไม่พอใจ หากเราละเว้นจนเลิกไม่ปฏิบัติแล้วธรรม เราท่านก็จะย้อนไปเป็นทาสกรรมตลอด แต่เมื่อใช้ขันติอดทน เอาเหตุเอาผล วันหนึ่ง เราท่านจะต้องไปขอบคุณ คนผู้นั้น ที่ทำให้เราท่านได้รู้ว่า เราท่านยังไม่ดีพอ ยังมีขันติ อดทน ไม่พอ ยังมีเมตตาไม่พอ ยังมีกิเลสมาก จนใครมากระทบไม่ได้

วันใดที่เราท่าน ผ่านวันนี้ ทำอารมณ์ ทำนิสัยได้ ก็จะขึ้นไปอีกขั้น นั่นคือ เป็นผู้ตักเตือนผู้มีสติน้อยกว่า วันนั้นเหตุก็จะเปลี่ยนไปเป็น คำด่าบ้าง คำชมบ้าง ตามความคิดของคนที่มา หากแต่สติก็ทำให้เราท่านทนได้ มีเมตตาแก่คนเหล่านั้น จะว่าเราท่านหยิ่ง ปากจัด แต่ทำไปด้วยเหตุด้วยผล

ก็ดูครูบาอาจารย์ ที่ต้องพูดทุกวัน ไม่มีวันหยุด แม้นคนที่จะฟัง อาจมีแค่ไม่ถึงครึ่ง ก็ต้องพูด พูดไป บางคนก็ด่าในใจไป บ่นในใจไป เบื่อ รำคาญ หากแต่นั่นคือการคัดกรอง เป็นกระบวนการของศาสนา ที่จะร่อน เอาเฉพาะคนที่เชื่อ ที่ศรัทธา

ไม่ผิด ศาสนา มีเอกลักษณ์ คือ ความหยิ่ง เพราะศาสน์เป็นปราชญ์ จะไม่มาเสียเวลากับผู้ที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทนอะไรนิดก็ไม่ได้ หน่อยก็ไม่ได้ เอาแต่ใจ คนประเภทนี้ต้องกรองออก

หลังจากประตูเปิดอ้าซ่ามานาน หลวงพ่อนิพนธ์ก็เปรยๆ ที่จะต้องมีการบีบประตูให้แคบลง คัดเฉพาะคนที่อยากได้ แล้วทำตาม ไม่เสียเวลากับคนที่มากินเล่น ทำเล่น อยากมาก็มา ไม่อยากก็ไม่มา

เรื่องของศาสน์ จึงเป็นองค์กรเฉพาะกลุ่มคนน้อยๆ ที่มารวมกันด้วยเหตุและผล ...

หากจะหมดกรรม จะหวังบุญ แต่ปฏิเสธเหตุ ไม่มีทางเป็นไปได้ ... วินัยของพระภูมี เป็นวินัยทุกข์ ที่ต้องใช้ขันติ อดทน และที่สำคัญ ไม่ได้มาด้วยการขอ อยากได้ต้องทำเอง

วันหนึ่ง เมื่อสติของเราท่านโตขึ้น ผลดีปรากฎ เราท่านจะซึ่ง แล้วจะรู้ว่า ทำไม พระพุทธเจ้าจึงรักโลกุตตระมาก ทำไม พระสงฆ์จึงรักพระพุทธเจ้า และรักวินัยมาก และทำไมเมื่อมีเหตุ คนเหล่านี้ จึงสงบได้ ... เพราะเหตุนั้นคือ บททดสอบ เหมือนข้อสอบ ว่าเราท่าน ทำได้จริง หรือ คิดไปเองว่าทำได้

เหมือนข้อสอบที่คนทั้งโลกสอบตก นั่นคือ การคิดว่าตนของตนรักตัวเอง หากแต่พฤติกรรมทำร้ายตัวเองทุกวี่ทุกวัน นั่นแล กินยาเคมี ฆ่าตัวเอง ใช้นิสัยโดยไม่ควบคุม ให้ทุกข์แก่ผู้อื่น จนผลย้อนกลับมาหาตน ก็อ้างเหตุว่าช่วยคนนั้น ทำบุญสร้างวัด สร้างโบสถ์ บริจาคทาน สักฉันใด ก็ช่วยตนไม่ได้เลย ....

แค่นิสัย ไปกินเที่ยว ให้ทิปบ๋อย คนเสิร์ฟได้ แต่จะควักเงินซื้อมะพร้าว คิดแล้วคิดอีก ... นี่แหละ นี่แหละ ... ความไม่คุ้นเคย จะควักได้ ต้องเอาเหตุเอาผลสักเท่าไหร่ จึงจะทำได้ ... ด้วยความยินยอมพร้อมใจ

เมื่อเข้าใจว่าเราท่านทุกคนต่างก็เป็นนักเรียน นั่นหมายความว่า ต้องเป็นเหตุซึ่งกันและกัน จึงไม่แปลกว่า พื้นฐานของศาสนา จึงเริ่มที่ความเมตตาก่อน เพราะเมื่อมีสติ ก็จักคิดได้ ว่าแท้จริงแล้ว มันคือกรรมของเรา อาศํยผู้อื่นเป็นเหตุนั่นเอง ... เมื่อทำตนของตนได้ ภาพของศาสน์ก็จักบังเกิดแก่คนผู้นั้นที่ทำได้ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของศาสนา ใครก็เลียนแบบไม่ได้ นั่นคือ "ความสงบ"

คนที่มีสติโต เห็นคนทำผิด จึงไม่ติฉิน นินทา ด้วยรู้ว่า ผู้นั้นกำลังเรียน กำลังทำ ยังไม่โต อาศัยความเมตตา จึงให้อภัยคนผู้นั้น แลรักษาความสงบของตนได้ . ก็ต้องให้เวลาคนผู้นั้น หากแต่เมื่อเนิ่นนานผ่านไป ก็ยังไม่เปลี่ยน นั้นจัดว่าเป็นบัวเหล่าที่สี่ หลวงพ่อนิพนธ์เรียกว่า ดิบเกินสอน ก็ต้องอุเบกขา เพียงอย่างเดียว เพราะพวกนั้นมันพวกเทวทัต

ติดต่อสั่งซื้อสินค้า หาโปรโมชั่น Sesamix-Z และ สารสกัดเซซามินสูตรที่ดีที่สุด โทรหาเรา 086 6O4 7O44