มันจึงไม่แปลกที่มีเพียงชาวพุทธ ที่พูดถึงกรรม
ครั้นพอห่างศาสนามานาน โลกโลกียะ ก็หลอกล่อเราท่านทั้งหลาย จนลืมเลือนเป็นธรรมดา จนบางคนกล่าวว่า ไม่กลัวกรรม ก็มี
คำถามหนึ่งที่พระเคยถามหลวงพ่อนิพนธ์ ว่าทำไมมนุษย์จึงไม่กลัวกรรม ท่านอรรถาอธิบายให้ฟังว่า นั่นเพราะลักษณะของกรรม หรือ ตัวกระทำที่ทำนั้น "ทำวันนี้ ผลจะไปรอเราอยู่วันข้างหน้า ไม่ว่ากรรมดี หรือกรรมชั่ว" นั่นเอง
ถ้าทำแล้วผลมันเกิดทันที อาทิ ตีเขาปุ๊บ เขาเจ็บเท่าไร ตนจะเจ็บเท่านั้น ถามเถอะใครจะกล้าทำชั่ว
เมื่อผลกรรมที่ทำมันทำแล้วไม่ได้เลย ในทางกลับกัน เมื่อผลกรรมมาอุบัติในวันนี้ หลายคนมักอ้างว่า วันนี้ของตนทำดี แล้วไม่ได้ดี นั่นผลของอดีต มาอุบัติ ส่วนที่ทำวันนี้มันไปรอเราในวันหน้า
หลวงพ่อนิพนธ์จึงชี้ให้พิจารณา โรคที่เกิด จึงเป็นผลที่ทำไว้แล้วในอดีต จะมาทำดีในวันนี้ หรือกรรมดี สักฉันใด มันจึงแก้โรคไม่ได้ เพราะผลกรรมดีวันนี้ มันต้องไปรอให้ผลวันหน้า ที่ซึ่งจะเห็นว่า ถึงวันนั้นคนผู้นั้นจะชั่วช้าสักฉันใด มีคนแช่งสักฉันใด ก็มีแต่เจริญ ดูจากพวกเจ้าพ่อทั้งหลายนั่นไง พวกโกงบ้านโกงเมือง อายุยืน ตายยาก แข็งแรง
บทสรุป ดังนั้น หลวงพ่อนิพนธ์จึงชี้ว่า จะแก้ทุกข์ในวันนี้ คนจึงต้องไปหาศาสนา ต้องพึ่งบุญ ที่ซึ่งแม่ชีเมี้ยนอุปมาว่า เหมือนแสงอาทิตย์ ที่เมื่อกระทบปุ๊บ รู้สึกปั๊บ บุญก็ทำปุ๊บ หลวงพ่อนิพนธ์บอกไปรอที่หัวกระไดบ้านปั๊บ เป็นเสมือนเงาตามตัวเรา
ปัญหาก็คือ หลายคนบอกตนทำบุญมากหลายทำไมจึงทุกข์เพียงนี้ นั่นเพราะบุญที่ทำ คิดเอง เออเอง เขาว่าดีก็ไปทำนั่นเอง หาใช่บุญที่พระพุทธเจ้ากำหนดไม่
ใครอยากรู้ว่าทำเช่นไร จึงต้องไปหาผู้ปฏิบัติ แล้วดูผล
บุญจึงเป็นสัญลักษณ์ของสุข ทำปุ๊บเห็นผลปั๊บ แลสุขของมนุษย์คือ "กินได้ นอนหลับ" จึงไม่แปลกถ้าทำถูก คนป่วยที่ทำได้ ผลดี ผลสุขแห่งบุญอย่างแรกที่ตนจะได้รับ คือ "กินได้ นอนหลับ"
ใครว่าแผ่นดินแม่ชีเมี้ยนเป็นแผ่นดินบุญหรือไม่ ก็ดูผลที่ผู้นำชี้ให้ทำ ทำแล้วผลเป็นอย่างไร นี่แลเป็นเหตุว่า ทำไมที่นี่มีคนหายโรค