หลวงพ่อนิพนธ์ ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอันเป็นบ่อที่ก่อให้เกิดทุกข์นั้นคือ หนี้ ไม่ว่าจะหนี้กรรมหนี้เวร ก็ตามแต่
ดังนั้น กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม จึงเด่นชัดที่จะไม่ร้องขอการสนับสนุนจากภาคส่วนใดๆ
หากแต่เน้นที่ คนที่มารับประโยชน์ ก็ทำตนเป็นพระเวสสันดร นำส่วนของตนที่มี พอทำได้มาร่วมด้วยช่วยกัน มีสมุนไพรก็นำมา มีแค่แรงก็นำมา อุปมาเสมือนน้ำคนละหยด รวมกันเป็นกระป๋อง พอแจกจ่ายนั่นเอง
หากแต่มุ่งหวัง รอเศรษฐีมาช่วย โดยตนไม่ทำอะไรเลย ถามว่ามีไหม บอกได้ว่ามีเรียงคิวรอมากมาย หากแต่ถ้าทำเช่นนั้น คนที่มาก็ยิ่งพอกพูนหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลวงพ่อนิพนธ์จึงชี้ว่า อุปสรรคที่ทำให้ไม่หายโรค มิใช่อาการของโรคที่เป็น แต่มันคือนิสัย ต่างหาก ดั่งที่ท่านอาสิ เน้นย้ำ
ก็สิ่งที่คนทุกข์ ร้องให้ช่วย แต่สิ่งที่ตนช่วยผู้อื่นได้ กลับนิ่งเฉย นิสัยยี้นั่นแหละน่ากลัวกว่าโรคเสียอีก
นิสัยที่ไม่คิดจะสร้างสุขให้แก่ผู้อื่นตามพระพุทธเจ้า แล้วจะหวังสุขคือหายโรค จะเป็นจริงได้หรือ
บทสรุป อยากหายโรคจึงง่ายนิดเดียว ไม่ต้องไปดิ้นรนมองไกล หรือที่ไหนอื่นใด แค่เตือนตนแล้วทำ ว่าเราจะสร้างสุขให้ผู้อื่นได้อย่างไร เท่านั้นเอง
อ๋อ ข้างบ้านมีหนองน้ำ เก็บผักบุ้งมาทำกระโจมสักกำ บ้านมีมะกรูด ปลูกมะพร้าว ดูสิมีลูกไหม พอจะทำยาได้ ติดมือมา 3ลูก 5 ลูก หรือมองแล้วบ้านเราก็มีพื้นที่ ปลูกดีปลีสักหน่อย เพราะมันแพง ลดค่าใช้จ่ายมูลนิธิ จะได้ไปใช้ที่จำเป็น
มองไปซ้ายขวา เห็นต้นมะเกลือ ต้นนี้ใช้ใบทำยาเขียว ทานกันทุกคน เราก็เก็บติดมาสักถุงพอหิ้วไหว จะได้ไม่ต้องเป็นภาระของใครที่ต้องวิ่งหา หนักจนเกินไป
แค่มีจิตใจ พฤติกรรม เป็นธรรมสามัคคี แบบที่ท่านอาสิชี้ คือ ทำใจสูงวิญญาณสูงแค่นี้ โรคก็แทบจะหายแล้ว
อย่าเสียเวลาไปมองสิ่งนอกตัว หลงทางเสียเวลา เสียเงินเปล่า คิดว่าสร้างพระ สร้างโบสถ์ช่วยได้ คิดว่าทำอย่างนี้ กินอย่างนั้นช่วยได้ กว่าจะรู้ว่านั่นมันช่วยตนไม่ได้ บางทีเสียเงิน เสียเวลา ก็พอไหว แต่เสียชีวิตนี่สิ น่าเสียดาย
ทำตนให้สุขกับผู้อื่น เริ่มที่เอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนาคือ ความสงบ หยุด กาย วาจา ใจ ที่ให้ทุกข์ผู้อื่น แล้วสร้างสุขให้ผู้อื่นตามแต่ที่ตนพอทำได้ โรคที่ว่าไม่มีทางหาย ก็หายได้เหมือนปาฏิหาริย์
แต่ถ้าทำตนเหมือนชูชก เอาแต่ถ่ายเดียว บทสรุปก็คงไม่ต่างกับชูชกนั่นแล